แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK๕R
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนวัดโคกเหรียง อำเภอคลองหอยโข่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาวปัทมา อัจนากิตติ
ปีที่พิมพ์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรายงานการวิจัยการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโคกเหรียง อำเภอคลองหอยโข่ง และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดโคกเหรียง อำเภอคลองหอยโข่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 แผน 2. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (IOC) มีค่า 1.00 ทุกข้อมีค่าความยากง่ายระหว่าง 25.00–68.75% ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.25–0.75 ค่าความเชื่อมั่น 0.83 และแบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธี การอ่านแบบ OK5R ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK๕R ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ เท่ากับ 91.38/88.13
2. คะแนนการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ OK๕R ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน วิเคราะห์ค่าสถิติ t–test ปรากฏค่า t = 57.36** ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าความเชื่อมั่น 99%
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่าน แบบ OK๕R ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีค่าเฉลี่ย 4.77 อยู่ในระดับมากที่สุด
จากการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ได้แบบฝึกทักษะสำหรับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังกล่าว ส่งผลทำให้นักเรียนมีทักษะการอ่านและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านจับใจความเพิ่มสูงขึ้น นักเรียนจึงเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและมีความพึงพอใจในการเรียนลักษณะนี้ ดังนั้น ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง จึงควรนำแบบฝึกทักษะนี้ไปใช้เป็นนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ