รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนเชียงคาน
ผู้จัดทำ นายสิทธิชัย บุตรมาตย์
หน่วยงาน โรงเรียนเชียงคาน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเชียงคาน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเชียงคาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 34 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple/Random/Sampling) จากการจัดชั้นเรียนของนักเรียนที่มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t – test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 โดยเฉลี่ยเท่ากับ 89.35/ 87.79 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และมีค่าดัชนีมีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.79
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน (x-bar =35.12, S.D. = 2.38) สูงกว่าก่อนเรียน (x-bar =16.47,S.D.= 2.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar =4.31, S.D.= 0.57)