รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ อ่านต่อได้ที
ชื่อผลงาน รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา วรรณพร สุภาคำ
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้า
ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
คิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ ของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้
ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านช้างใน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ E1/E2
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.22 / 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.33 คิดเป็นร้อยละ 57.78 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 26.00 คิดเป็นร้อยละ 86.67 มีค่า
ความต่างของคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.67 คิดเป็นร้อยละ 28.89 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึก
เสริมทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58