รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดั
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญาราม
ผู้รายงาน นางรสสุคนธ์ อ้นด้วง
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญารามในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญาราม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนวัดอรัญญาราม เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญาราม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญารามภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญารามจำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดอรัญญารามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นทั้ง 7 ชุด มีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 83.18/86.43 สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้คือ 80/80 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละที่เพิ่มขึ้น 48.67 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. การศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด (μ =4.51, σ = 0.49)