รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนสะกดคำ มาตร
ผู้ศึกษา นางภัทรวดี มีนาพา
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่าน
และการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและ
การเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาเหล่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Puposive Sampling) ใช้เวลา 18 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ
3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน
โดยใช้ t- test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.05/89.39 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย การอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้ภาพประกอบ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67