บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3
และการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย : วิษณุกรณ์ ภูโททิพย์
ปีการศึกษา : 2560
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงเพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยศึกษากับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกอย่างเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้ ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกับจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน รวมเวลา 20 ชั่วโมง เมื่อเสร็จสิ้นทุกกิจกรรมแล้วจึงทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดเดิมแต่มีการสลับข้อคำถาม และนักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนทั้งหมดมาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ด้วยสถิติค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีค่า E1/E2 เท่ากับ 81.05/82.37 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7825 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 0.5
2. นักเรียนที่เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = 0.68)