รายงานผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสาววราภรณ์ คำแท่ง
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านเหล่าหญ้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
ปีที่ทำการวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) หาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านเหล่าหญ้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบสมบูรณ์ (Random Assignment) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มจำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาได้แก่ ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนรวมทั้งเจตคติทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติเปรียบเทียบ ใช้สถิติ t - test แบบไม่อิสระ (Dependent)
ผลการพัฒนาพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.59, S.D. = 0.24)
2. ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.77/81.72
3. นักเรียนที่จัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดฝึกทักษะการบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.66, S.D. = 0.23)