เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน : นางพรพิมล อ้นบำรุง
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 4 มีทั้งหมด 5 ห้องเรียน จำนวน 170 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์ วิทยาคาร) อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 4 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเกาะกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน ความพึงพอใจในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วย การทดสอบค่าที (t–test) และหาระดับความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ นำเสนอข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยายสรุปผลได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.56/85.41 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.15