LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป

usericon

รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป
ชื่อผลงาน :     รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 ผู้รายงาน :     นายปรีชา ยอดยิ่ง             ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีที่รายงาน:     ปีการศึกษา 2554-2555 บทสรุป รายงานการประเมินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น2) พฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครู โดยส่งเสริมให้นักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 3) พฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อการดำเนินโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 25 คน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 22 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2554 จำนวน 21 คน ปีการศึกษา 2555 จำนวน 19 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 จำนวน 7 คน ส่วนครูศึกษาจากประชากรครู ปีการศึกษา 2554และปีการศึกษา 2555 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .845- .927 และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ ผลการประเมินพบว่า     การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554 – 2555 สรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554 – 2555 ด้านสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูโดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดและความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่าปีการศึกษา 2554และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 กลุ่ม โดยปีการศึกษา 2554 ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน( = 3.13)และครู ( =3.13) เท่ากันและปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ย ( =4.48)สูงกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งมีค่าเฉลี่ย ( = 4.47) 2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554 – 2555 ด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการก่อนดำเนินโครงการตามความคิดเห็นตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ การบริหารจัดการและหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 กลุ่ม ปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ย( = 3.47)สูงกว่าค่าเฉลี่ย ( = 3.34) ของครู และปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ย( = 4.59)สูงกว่าค่าเฉลี่ย ( = 4.38 ) ของครูเช่นกัน      3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554 – 2555 ด้านกระบวนการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน(P) ด้านการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม(D) ด้านการติดตามและประเมินผล(C) ด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา(A) โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 กลุ่ม ปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 3.34) สูงสุด รองลงมาคือค่าเฉลี่ย ( = 3.20 ) ของผู้ปกครอง และต่ำสุดคือค่าเฉลี่ย ( = 3.53) ของครูตามลำดับ 4. ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554 – 2555 ในด้านผลผลิต ได้แก่     4.1 ผลการประเมินผลผลิตคุณภาพของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบ ว่า ปีการศึกษา 2554และปีการศึกษา 2555 ทั้ง 3 กลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม ปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 2.94) รองลงมาคือ ผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( = 2.92 ) และนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 2.86 ) ตามลำดับ ปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด( = 4.71 ) รองลงมาคือ ครู มีค่าเฉลี่ย ( = 4.59) และนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 4.54 ) ตามลำดับ 4.2 ผลการประเมินสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านพฤติกรรมการจัด กระบวนการเรียนรู้ ของโครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 ตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน ด้านพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูโดยส่งเสริมในนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 กลุ่ม ปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ย( = 3.02) สูงกว่าค่าเฉลี่ย( = 2.98 )ของนักเรียนและปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ย( = 4.62) สูงกว่าค่าเฉลี่ย( = 4.53 ) ของนักเรียนเช่นกัน 4.3 ผลการประเมินสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านพฤติกรรมการเป็น บุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ด้านพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูโดยส่งเสริมในนักเรียนใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินพบว่า ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 กลุ่ม โดยปีการศึกษา 2554 ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( = 3.07)สูงกว่าค่าเฉลี่ย ( = 2.92) ของครู และปีการศึกษา 2555 ตามความคิดเห็นของครูมีค่าเฉลี่ย ( = 4.56) สูงกว่าค่าเฉลี่ย ( = 4.41) ของผู้ปกครอง     4.4 ผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองราโพ ปีการศึกษา 2554 จำแนกตามระดับชั้น พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับชั้นมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.24 อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละระดับชั้น พบว่า ชั้น ป.5มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 76.22 อยู่ในระดับดี รองลงมา คือ ชั้น ป.3 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.03 อยู่ในระดับดี และชั้น ป.1 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 70.41 อยู่ในระดับดีเช่นกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองราโพ ปีการศึกษา 2555 จำแนกตามระดับชั้น พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของทุกระดับชั้นมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.16 อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาแต่ละระดับชั้น พบว่า ชั้น ป.6 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 75.73 อยู่ในระดับดี รองลงมา คือ ชั้น ป.4 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 74.38 อยู่ในระดับดี และชั้น ป.1 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ 60.38 อยู่ในระดับพอใช้     4.5 ผลการประเมินสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตด้านความพึงพอใจ โครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2554-2555 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ด้านความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า ปีการศึกษา 2554 และปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 กลุ่ม ปีการศึกษา 2554 ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.39 ) รองลงมาคือครู ( = 2.84 ) นักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( = 2.83 ) และผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( = 2.78 ) ต่ำสุด ตามลำดับ และปีการศึกษา 2555 ความพึงพอใจของพบว่าครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.78 ) รองลงมาคือนักเรียนมีค่าเฉลี่ย ( =4.77) คณะกรรมการสถานศึกษามีค่าเฉลี่ย ( = 4.73 ) และผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ย ( = 4.69 ) ต่ำสุด ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ     ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการประเมินไปประยุกต์ใช้ 1.    ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เพราะจะทำให้รู้ถึงทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้าน เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุกๆ ฝ่าย และจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป 2.    โรงเรียนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีขนาดและบริบทที่ใกล้เคียงกันควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านหนองราโพ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ให้สอดคล้องกับ บริบทของโรงเรียน เพราะจะทำให้โรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 3.    ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงาน ที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพราะจะทำให้มีกำลังใจในการทำงานและส่งผลต่อความสำเร็จของงานในครั้งต่อๆ ไป ข้อเสนอแนะสำหรับวิจัยหรือประเมินครั้งต่อไป 1.    ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยการ ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model) 2    ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
25 พ.ค. 2556 เวลา 20:35 น. 0 2,307
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^