LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม

usericon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ และเพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 10 สัปดาห์ๆ ละ 2 คาบเรียนๆ ละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 20 คาบเรียน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เมื่อเรียนจบในแต่ละเล่ม ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบประจำบทและตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ หลังจากที่เรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ครบทั้ง 6 เล่ม ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ มีค่าเท่ากับ 84.75/83.25 ซึ่งถือว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ สูงกว่าก่อนการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดีมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^