: ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านและการเขียนสะก
โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้
แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา : นายกฤษณพงศ์ นิลนามะ
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านโต่งโต้น อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 5 คน เป็นชั้นที่ผู้ศึกษาสอนประจำชั้น ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองกลุ่มเดียว แบบ One–Group Pretest–Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วย
1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 22 แผน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4)
แบบวัดความพึงพอใจ 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำประกอบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.57/81.90 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.6637 คิดเป็นร้อยละ 68.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือ
แบบ STAD ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนที่ร้อยละ 35.71
3. นักเรียนมีความพึงพอใจที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.65