รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางเกศสิณี ต่อพงษ์
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวิชิตสงคราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภูเก็ต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งได้แบบทดสอบที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต จำนวน 15 ข้อ ซึ่งได้ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความ พึงพอใจทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 85.01/81.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต มีค่า ดัชนีประสิทธิผล 0.5433 คิดเป็นร้อยละ 54.33
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด