LASTEST NEWS

02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567 31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567

การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนร

usericon

หัวข้อวิทยานิพนธ์    การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย        สุดสาคร อินทร์ทอง
วิชา            ภาษาไทย
ปีการศึกษา        2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาคะแนนพัฒนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและ 5)เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลาก(Simple Random Sampling) โดยใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 12 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และแผนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบบันทึกภาคสนามและแบบสัมภาษณ์นักเรียน ซึ่งดำเนินการทดลองโดยวัดผลก่อนและหลังทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มตัวอย่างอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent group) และหาค่าคะแนนพัฒนาการ

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าคะแนนการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (X ̅ = 25.42, S.D = 2.450) เมื่อพิจารณาการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นรายด้านมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การนำไปใช้ และการประเมินค่า เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย (X ̅ = 10.19, S.D = 0.735) ด้านการสังเคราะห์ (X ̅ = 5.06, S.D = 0.843) การนำไปใช้ (X ̅ = 4.84, S.D = 0.766) และการประเมินค่า (X ̅ = 4.61, S.D = 0.926)
    2. พบว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคะแนนพัฒนาการของผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ โดยมีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 66.56 และยังพบว่านักเรียนมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูงมาก คิดเป็นร้อยละ 18.00 นักเรียนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 54.00 และนักเรียนมีพัฒนาการระดับกลาง คิดเป็นร้อยละ 28.00 แสดงว่านักเรียนที่ได้รับการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง
    3. ระดับผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับดีมาก พบว่า มีนักเรียนจำนวน 12 คน อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 28.00 มีนักเรียนจำนวน 20 คนอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 40.00 นักเรียนจำนวน 9 คน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 18.00 นักเรียนจำนวน 6 คน อยู่ในระดับค่อนข้างดี คิดเป็นร้อยละ 12.00 และมีนักเรียนจำนวน 1 คน อยู่ในระดับน่าพอใจ คิดเป็นร้อยละ 2.00 นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับดีขึ้นไป มีจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 86.00
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.33 S.D = 0.56
    5. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสนใจต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักเรียนชอบกิจกรรมการระดมสมอง รู้จักวิเคราะห์และมีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองภายใต้การทำงานเป็นทีม มีโอกาสคิดเป็นอย่างอิสระ กล้าแสดงออก และกล้าแสดงความคิดเห็นกันภายในกลุ่ม มีความกระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และนำสิ่งที่ตนได้เรียนรู้มาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมในปัญหาที่นักเรียนต้องการรู้ด้วยตนเอง และร่วมทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนอย่างมีความสุข ดังนั้น นักเรียนมีพฤติกรรมหลังการพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและมีความสุขในการเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^