การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้
ผู้ประเมิน นายชนะชัย เหลืองอ่อน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน
ปีการศึกษา 2560
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยทำการประเมินจาก กลุ่มบุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 92 คน ประกอบด้วย ครูโรงเรียนบ้านนากลาง ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้แทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 38 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน มีขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีกิจกรรมที่น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน จำนวน 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม ก.ไก่ออกไข่ให้น้อง กิจกรรมการปลูกมะนาวในวงบ่อ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน กิจกรรมหนูน้อยรักการออม กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม และกิจกรรมส่งเสริมอาหารกลางวันนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้นเอง จำนวน 6 ฉบับ โดยแบบสอบถามฉบับที่ 1 เป็นการการประเมินบริบท (Context Evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 2 เป็นการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 3 เป็นการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) แบบสอบถามฉบับที่ 4 เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความมีจิตสาธารณะ แบบสอบถามฉบับที่ 5 เป็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความมีจิตสาธารณะ และแบบสอบถามฉบับที่ 6 เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยแบบสอบถามทั้ง 6 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีเกณฑ์การตัดสินคือค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไป ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยประเมินจากบริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ พบว่า มีค่าเฉลี่ยของการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก โดยการประเมินด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การประเมินด้านกระบวนการ และ การประเมินด้านผลผลิต ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการประเมินปัจจัยเบื้องต้น ซึ่งทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมของการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการนี้สามารถส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถสรุปผลการประเมินแยกตามการประเมินบริบท การประเมินปัจจัยเบื้องต้น การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต ได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context) พบว่า มีเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครูและนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการนี้สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมด้านบริบทในภาพรวม สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการมีความสอดคล้องกับสภาพบริบท และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้โครงการสำเร็จ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ มีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมอย่างชัดเจน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ งบประมาณที่ได้รับมีความเหมาะสมและเพียงพอ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมด้านปัจจัยเบื้องต้น สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการได้รับการสนับสนุนทรัพยากร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ และการบริหารจัดการ ตลอดจนมีการสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนเป็นอย่างดี
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process) พบว่า มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การดำเนินกิจกรรมการปลูกมะนาวในวงบ่อ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยรักการออม มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การประเมินกิจกรรมในโครงการ และ การรายงานผลการประเมินกิจกรรมของโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเท่ากัน ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมด้านกระบวนการ สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ โดยความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง มีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงาน กำหนดบทบาทหน้าที่ ขั้นตอน ตลอดจนการนิเทศติดตาม อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product) การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยครู พบว่า โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเหมือนกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านความมีวินัย มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความซื่อสัตย์ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความมุ่งมั่นในการทำงาน มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก โดยทุกด้านมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมากเหมือนกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความซื่อสัตย์ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความมีจิตสาธารณะ มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความอยู่อย่างพอเพียง มีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนจากการะประเมินโดยครูและผู้ปกครองนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการสามารถส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายเชิงคุณภาพที่ตั้งไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้และทักษะด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ด้าน ที่นักเรียนได้รับภายหลังการร่วมกิจกรรมในโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพลิดเพลินที่ได้จากการร่วมกิจกรรมในโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ก่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนได้สำรวจความต้องการของนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียน สูงกว่าเกณฑ์การตัดสินที่วางไว้ จึงถือว่าโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง มีกิจกรรมที่น่าสนใจและสามารถสนองต่อความต้องการของนักเรียน กระตุ้นให้นักเรียนอยากร่วมอยากทำกิจกรรม ตลอดจนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ