การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะ เรื่อง เซต ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ
โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ
ผู้วิจัย นายพรสวรรค์ ชาพา
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโพนแพง เจียรวนนท์อุทิศ 5 ตำบลโพธิไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สังกัด สำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 เรื่อง เซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เซต ระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ กับกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านโพนแพง เจียรวนนท์อุทิศ 5 จำนวน 66 คน จาก 2 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้น (Two–stage sampling) โดยจัดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง กลุ่มทดลองเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ กลุ่มควบคุม เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ และแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ จำนวนแบบละ 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent sample)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.75/82 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดฝึกทักษะ มีค่าเท่ากับ 0.6652 หรือคิดเป็นร้อยละ 66.52
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่านักเรียนที่เรียน
ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เซต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป ชุดแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เซต โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบย้อนกลับ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
คำสำคัญ : การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ; ชุดแบบฝึกทักษะ; เซต
TITLE The Development of Mathematics Learning Activity for Matthayomsuksa 4 on Set: Backward Design by Skill Training Kit
AUTHOR Mr. Pornsawan Chapar
DEPARTMENT Ponpang Jia-rawanon Utit 5 school Kusuman District Sakon Nakhon
YEAR 2015
ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) develop a learning plan for mathematics by Backward Design learning with Skill Training Kit on Set for Matthayomsuksa 4 with a required efficiency of 75/75, 2) study the effective- index value of the learning plan, 3) compare the learning achievement on Set of Matthayomsuksa 4 students who used the plan developed by Backward Design learning with Skill Training Kit and the conventional-learning-approach, and 4) investigate the satisfaction of the students who learned by using the plan by Backward Design learning with Skill Training Kit. The research sample consisted of 66 students in Matthayomsuksa 4 attending Ponpang Jia-rawanon Utid 5 School in the first semester of the academic year of 2017, selected by using the Two–stage sampling technique from 2 classrooms in which are the experimental and control groups. The experimental group used the learning plan developed by Backward Design learning with Skill Training Kit and control group used the conventional-learning-approach plan. Research tools consisted of 8 lesson plans of each learning method by Backward Design with Skill Training Kit and the conventional-learning-approach, with 30-item and 4-multiple-choice achievement test and 15-item with five-rating-scale inventory for student’s satisfaction. The statistical method employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and independent t-test which were used in the testing hypotheses.
The results of the research were as follows:
1. The mathematical-learning plan by Backward Design learning with Skill Training Kit on Set for Matthayomsuksa 4 had an efficiency of 82.75/82, which met the required criterion.
2. The mathematical-learning plan by Backward Design learning with Skill Training Kit had an effective index of 0.6652 or 66.52 percent.
3. The students who learned by using the plan for mathematics by Backward Design learning with Skill Training Kit revealed higher learning achievement than those who studied by using the conventional-learning-approach at the .05 level of significance.
4. The students who learned by using the learning plan for mathematics by Backward Design learning with Skill Training Kit on Set for Matthayomsuksa 4 had satisfaction as a whole at a very high level.
In conclusion, an organization of mathematical-learning activity using Backward Design learning with Skill Training Kit on Set for Matthayomsuksa 4 was appropriately efficient and effective to enhance the learning achievement. It can be used to create mathematics learning activity. It could be implemented to organize the learning activity to achieve the learning objective. The teacher should be supported to implement this in learning plan and teaching method in the future.
Keyword: Backward Design; Skill Training Kit; Set