LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประวัติประตูเมืองกาญจนบุรี

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ     รายวิชา นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ๑     รหัสวิชา ศ๒๒๒๐๓
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒     ภาคเรียนที่ ๒     ปีการศึกษา ๒๕๖๐
เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าสู่ประตูเมืองกาญจนบุรี     เวลาเรียน ๒ ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระสำคัญ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ประดิษฐานอยู่ด้านหลังประตูเมืองกาญจนบุรี เป็นพระบรมรูปในท่าประทับหันพระพักตร์เข้าสู่ตัวเมือง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการรำลึกการสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจประวัติความเป็นมา ความสำคัญ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรี

จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
๑.    นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและประตูเมืองกาญจนบุรี
๒.    นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจความสำคัญของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและประตูเมืองกาญจนบุรี
ด้านทักษะ/กระบวนการ
นักเรียนสามารถเขียนสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความสำคัญ พระบรม
ราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรี
ด้านเจตคติ
นักเรียนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
สมรรถนะของผู้เรียน
๑.    ความสามารถในการสื่อสาร
๒.    ความสามารถในการคิด
๓.    ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
๑.    มุ่งมั่นในการทำงาน
๒.    รักความเป็นไทย

สาระการเรียนรู้
ประวัติสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองกาญจนบุรี พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรี

ภาระงาน
-    บัตรกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า สู่ประตูเมืองกาญจนบุรี
-    แบบทดสอบย่อย เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสู่ประตูเมืองกาญจนบุรี

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูนำสนทนาเกี่ยวกับอนุสรณ์สถานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองกาญจนบุรีที่อยู่บริเวณใกล้กับโรงเรียนที่นักเรียนรู้จัก โดยครูกล่าวชมเชยนักเรียนที่ตอบได้
ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม
ครูเปิดสื่อการสอน Power Point ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรีมาให้นักเรียนดูแล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาที่นักเรียนเคยได้ยินได้ฟังมา
ขั้นสร้างองค์ความรู้ใหม่
๑.    อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรีให้นักเรียนฟัง
๒.    ครูพานักเรียนไปพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประตูเมืองกาญจนบุรีและกำแพงเมืองที่เหลืออยู่ภายในโรงเรียน เพื่อเป็นการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้จริง
๓.    ให้นักเรียนศึกษาบัตรความรู้ที่ ๑ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า สู่ประตูเมืองกาญจนบุรี
๔.    ให้นักเรียนร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ดังนี้ นักเรียนจัดกลุ่มให้มีสมาชิกกลุ่มละ ๕-๖ คน จากนั้นเลือกตั้งประธาน รองประธาน และเลขานุการกลุ่ม
ขั้นฝึกปฏิบัติ/ประยุกต์ใช้องค์ความรู้/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์สังเคราะห์และบันทึกองค์ความรู้ ลงในกระดาษบรู๊ฟที่ครูแจกให้แล้วส่งตัวแทนออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน้าชั้นเรียนกลุ่มละ ๑ คน ครูกล่าวชมเชยกลุ่มที่นำเสนอได้ดี และให้คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับนักเรียนบางกลุ่ม
ขั้นสรุป
๑.    นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ดังนี้
-    พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ด้านหลังประตูเมืองกาญจนบุรี เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการรำลึกการสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่
-    ปัจจุบันยังมีกำแพงเมืองบางส่วนหลงเหลือเพื่อเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อยู่ภายในบริเวณโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
-    จังหวัดกาญจนบุรีให้วันที่ ๘ มีนาคม ของทุกปี จัดงานพิธี "แผ่นดินสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" โดยการถวายราชสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงประวัติศาสตร์สำคัญที่เกิดขึ้น
๒.    นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วให้เปลี่ยนกันตรวจจากเฉลยที่ครูแจกให้ ครูนำสนทนาเกี่ยวกับคำตอบที่ถูกต้องทีละข้อจนครบทุกข้อ ครูบันทึกคะแนนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และกล่าวชมเชยนักเรียนที่ได้คะแนนสูงสุด
สื่อและแหล่งเรียนรู้
๑.    พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ประตูเมืองกาญจนบุรีกำแพงเมืองที่เหลือในโรงเรียนกาญจนานุเคราะห์
๒.     สื่อการสอน Power Point ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และประตูเมืองกาญจนบุรี
๓.    Website ที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และประตูเมืองกาญจนบุรี

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
๑.    วิธีการวัดและประเมินผล
๑.๑    ประเมินการปฏิบัติงานตามกิจกรรม
๑.๒    ทดสอบย่อย
๑.๓    ประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานกลุ่ม
๑.๔    ประเมินสมรรถนะผู้เรียน
๑.๕    ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.    เครื่องมือ
๒.๑    แบบประเมินการปฏิบัติงานตามกิจกรรม
๒.๒    แบบทดสอบย่อย
๒.๓    แบบประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
๒.๔    แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๒.๕    แบบประเมินสมรรถนะผู้เรียน
๓.    เกณฑ์การประเมิน
๓.๑    การประเมินผลงาน นักเรียนจะต้องมีระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน
๓.๒    การประเมินด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานกลุ่ม นักเรียนจะต้องมีระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน
๓.๓    ประเมินผลการทดสอบย่อย นักเรียนจะต้องมีระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการประเมินตามระดับคุณภาพดังนี้
    ระดับดี    ตอบได้      ๗-๘     คะแนน
    ระดับพอใช้    ตอบได้      ๔-๖     คะแนน
    ระดับปรับปรุง    ตอบได้      ๐-๓      คะแนน
๓.๔    ประเมินสมรรถนะผู้เรียน นักเรียนจะต้องมีระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน
๓.๕    ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนจะต้องมีระดับคุณภาพ ดี ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^