การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง
โรงเรียนกระสังพิทยาคม
ผู้วิจัย นายวุฒิไกร ชมถาวร ตำแหน่ง ครู โรงเรียนกระสังพิทยาคม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ที่มีต่อการเรียนโดยใช้
ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ผู้ศึกษาดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design คือมีกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ชุด
2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44-0.89 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.44-0.89 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่นักเรียนมีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นมาตราส่วนประเมินค่ามี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (t) อยู่ระหว่าง 1.79 - 2.86 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ คือ ประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ทดสอบค่า t - test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานได้ดังนี้
1. ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.20/81.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. การเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกระสังพิทยาคม ที่ได้รับการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62