ประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ประเมิน นายชนะชัย เหลืองอ่อน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน
ปีการศึกษา 2560
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และเพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ประชากรที่ใช้ในประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 92 คน ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 9 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 7 คน (ยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียนและตัวแทนครู) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 38 คนและผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านนากลาง จำนวน 38 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้น ตามวิธีการของ Likert ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
1. แบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านนากลาง
2. แบบสอบถามฉบับที่ 2 ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับครูโรงเรียนบ้านนากลาง
3. แบบสอบถามฉบับที่ 3 ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับครูโรงเรียนบ้านนากลาง
4. แบบสอบถามฉบับที่ 4 ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) คือ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความมีจิตสาธารณะ สำหรับครูโรงเรียนบ้านนากลาง
5. แบบสอบถามฉบับที่ 5 ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) คือ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมุ่งมั่นในการทำงาน และความมีจิตสาธารณะ สำหรับผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง
6. แบบสอบถามฉบับที่ 6 ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) คือ ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านนากลาง
การวิเคราะห์ข้อมูลโดย การคำนวณหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะตารางประกอบคำบรรยาย
สรุปผลการประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ปรากฏผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่าโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (µ = 4.46, = 0.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของครูและนักเรียน (µ = 4.88, = 0.33) อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน (µ = 4.63, = 0.70) อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการนี้สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน (µ = 4.25, = 0.83) ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (µ = 3.97, = 0.72) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้โครงการสำเร็จ (µ = 4.67, = 0.47) อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ มีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบกิจกรรมอย่างชัดเจน (µ = 4.56, = 0.68) มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ งบประมาณที่ได้รับมีความเหมาะสมและเพียงพอ (µ = 3.11, = 0.57) ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง
3. ด้านกระบวนการ (Process) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก (µ = 4.19, = 0.65) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การดำเนินกิจกรรมการปลูกมะนาวในวงบ่อ (µ = 4.89, = 0.31) อยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรมหนูน้อยรักการออม (µ = 4.78, = 0.42) อยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ การประเมินกิจกรรมในโครงการ และ การรายงานผลการประเมินกิจกรรมของโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ (µ = 3.67, = 0.82) ซึ่งอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนหลังดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก (µ = 4.26, = 0.71) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความมีวินัย (µ = 4.37, = 0.67) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก รองลงมาคือ ด้านความซื่อสัตย์ (µ = 4.27, = 0.72 ) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ มุ่งมั่นในการทำงาน (µ = 4.17, = 0.76) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนหลังดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบว่า โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก (µ = 3.93, = 0.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับปฏิบัติ/เป็นจริงมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความซื่อสัตย์ (µ = 4.26, = 0.64) รองลงมาคือ ด้านความมีจิตสาธารณะ (µ = 3.99, = 0.86) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยสุด คือ ด้านความอยู่อย่างพอเพียง (µ = 3.71, = 0.88)
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านนากลาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.99, = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความรู้และทักษะด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ด้าน ที่นักเรียนได้รับภายหลังการร่วมกิจกรรมในโครงการ (µ = 4.55, = 0.68) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ ความเพลิดเพลินที่ได้จากการร่วมกิจกรรมในโครงการ (µ = 4.47, = 0.75) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดคือ ก่อนการดำเนินโครงการโรงเรียนได้สำรวจความต้องการของนักเรียน (µ = 3.68, = 0.80) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก