การรายงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ฯ
การรายงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ประชากรที่ใช้ในการรายงานครั้งนี้ จำนวน 307 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และบุคคลอื่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านหล่ายท่า เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้เฉพาะนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 28 คน เพราะสามารถอ่านข้อคำถามใบแบบสอบถาม (อ่านคล่อง) และตอบแบบสอบถามได้ (เขียนคล่อง) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหล่ายท่า เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเลือกจากคณะกรรมการที่ไม่ใช่ผู้อำนวยการและครู จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการรายงาน สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในแต่ละด้าน สรุปได้ดังนี้
1.1 ด้านที่ 1 กายภาพ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหล่ายท่า ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่ายังมีปัญหาและต้องพัฒนาตามบริบทที่จำเป็นของโรงเรียน จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โดยมีการร่วมมือกันกับทุกๆ ฝ่าย อาทิ ชุมชน หน่วยงานภายนอก เพื่อจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างแหล่งเรียนรู้ สนามเด็กเล่น แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมทั้งขอความร่วมมือจากชุมชนในการบำรุง ดูแล รักษา ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานทางด้านสถาปนิก สำรวจ ประมาณการ ตรวจสอบสภาพอาคารสิ่งก่อสร้าง ดำเนินการจัดหางบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย เหมาะสม คุ้มค่า เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มีการติดตาม ตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินการตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา ตามกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
ปีการศึกษา 2559
ดำเนินกิจกรรมพัฒนา สร้างฐานการเรียนรู้กระตุ้นสมอง : BBL, สร้างสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง : BBL เล่นตามรอยพระยุคลบาท,สร้างศาลพระภูมิภายในโรงเรียน,ปรับปรุงต่อเติมอาคารอเนกประสงค์ (โรงอาหาร), จัดหาโต๊ะอาหารกลางวันนักเรียนครบถ้วน เพียงพอ สะอาดคงทน, ปรับปรุงห้องส้วม ให้ถูกสุขลักษณะ, สร้างโรงเรือนศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตร, สร้างฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, สร้างธนาคารขยะโรงเรียน, สร้างถนนรอบบริเวณโรงเรียน, สร้างโรงจอดรถยนต์และจักรยานสำหรับนักเรียนและบุคลากร, พัฒนาปรับปรุงห้องสมุด, สร้างป้ายอาเซียนและป้ายประชาสัมพันธ์โรงเรียน, ปรับปรุงห้องเรียนคุณภาพ, ปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าอาคารเรียนอนุบาล, ปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน 2 หลัง, ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารประชารวมใจทำเป็นแหล่งเรียนรู้สหกรณ์โรงเรียน, เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาอาคารเรียน ป.1ก, เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าส่องสว่างและเปลี่ยนพัดลมเพดานในห้องเรียน, ตัดแต่งกิ่งไม้ ต้นไม้หน้าอาคารและติดตั้งเสาไฟฟ้า โคมไฟฟ้าส่องสว่างกลางคืน, ต่อเติมลานกิจกรรมหน้าห้องอำนวยการ และพัฒนาสร้างสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง : BBL เล่นตามรอยพระยุคลบาท
ปีการศึกษา 2560
ดำเนินกิจกรรมปรับปรุงสร้างฐานการเรียนรู้เพิ่มเติม ในสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง : BBL เล่นตามรอยพระยุคลบาท, พัฒนาปรับปรุงฐานการเรียนรู้ แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ โครงการจัดการระบบเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัยของโรงเรียนและชุมชนในแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง, กิจกรรมผ้าป่าการศึกษาเพื่อจัดหาทุนก่อสร้างรั้วโรงเรียนและพัฒนาการศึกษา, ก่อสร้างที่ดื่มน้ำและติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ระบบสุขาภิบาลน้ำดื่มสะอาด, ระดมทุนติดตั้งมุ้งลวด ห้องเรียนระดับชั้นปฐมวัย,ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในบ้านพักครู และติดตั้งเปลี่ยนระบบไฟฟ้าจากเดิม 1 เฟส 2 สาย เป็น 3 เฟส 4 สาย, ก่อสร้างทางเชื่อม มุงกระเบื้องหลังคาระหว่างอาคาร, จัดหาโต๊ะ-เก้าอี้สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล, พัฒนาปรับปรุงซุ้ม ที่พักผู้ปกครอง รอรับ-ส่งนักเรียน และที่นั่งเล่นสำหรับนักเรียน ปรับปรุงห้องประชุม ห้องแสดงผลงานนักเรียน, พัฒนาปรับปรุงห้องเรียนคุณภาพระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา, จัดหาเครื่องเล่นสำหรับเด็กอนุบาล, พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ ก่อสร้างแปลงดอกไม้ตามแนวถนน, ทาสีอาคารเรียน ป.1ก, จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์, กิจกรรมทอดผ้าป่าก่อสร้างอนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนาไทย)
โดยที่ผู้บริหารกำกับ ติดตามการดำเนินการตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญาของนักเรียน ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
ผลจากการปรับปรุงห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนคุณภาพระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เป็นระเบียบ สวยงาม น่าอยู่ สร้างสื่อและนวัตกรรมการสอน มีป้ายนิเทศ โดยความร่วมมือของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้โรงเรียนมีห้องเรียนคุณภาพและได้รับรางวัลห้องเรียนคุณภาพระดับยอดเยี่ยม จาก สพป.ลำพูน เขต 2
ผลจากการพัฒนาปรับปรุงสร้างฐานการเรียนรู้เพิ่มเติมในสนามเด็กเล่นตามหลักการพัฒนาสมอง : BBL เล่นตามรอยพระยุคลบาท โดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอก ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นเรียบร้อยและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำให้โรงเรียนมีเครื่องเล่นสนามเพิ่มขึ้น นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย เรียนรู้ตามธรรมชาติ ฝึกทักษะชีวิต พัฒนาเตรียมความพร้อมของร่างกาย เรียนรู้อย่างมีความสุข จึงทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลต้นแบบสนามเด็กเล่น ระดับ สพฐ.ปีการศึกษา 2560 และยังเป็นที่ศึกษาดูงานของหน่วยงานภายนอก
1.2 ด้านที่ 2 การบริหาร ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหล่ายท่า ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการที่จำเป็นตามบริบทของโรงเรียน ด้านการบริหาร มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ที่ชัดเจนครอบคลุมงานตามโครงการ กิจกรรมของโรงเรียน ผู้บริหารมีการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นระหว่างครูด้วยกันและระหว่างครูกับผู้บริหาร ปฏิบัติต่อครูเหมือนกับเป็นผู้ร่วมงานที่ดี ที่คอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับครู โดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยการสำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหา จัดทำ ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันแล้วนำข้อมูลมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายหรือแนวปฏิบัติของโรงเรียน มีการเปิดโอกาสให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็นในลักษณะต่าง ๆ เช่น การกำหนดนโยบาย การเสนอแผนงานโครงงาน มีการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับแผนงาน โครงการที่รับผิดชอบ มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่หลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรในโรงเรียนมอบหมายงานตามความถนัดตามความเหมาะสมทั้งนี้ได้มีการนิเทศติดตาม และการประเมินผลโดยมีการสรุปโครงการกิจกรรมต่างๆ เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุง แผนงาน โครงการ ในปีงบประมาณต่อไป
ผลจากการบริหารงานบุคคล ส่งผลให้ครูได้รับการประเมินให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการ จำนวน 1 คน ส่งเสริมสนับสนุนครูในการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพจนสามารถทำให้ได้รับรางวัลห้องเรียนคุณภาพระดับดีเยี่ยม ส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนพัฒนาตนเองด้วยระบบการฝึกอบรมแบบ e-Training (UTQ Online) ได้ครบถ้วนทำให้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ และส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกจ้าง ประจำ ตำแหน่งช่างไฟฟ้า ช.4 พัฒนาตนเองทำได้รับโล่ห์รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ทำคุณประโยชน์ทางด้านการศึกษาดีเด่น ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ส่งเสริมข้าราชการครูประพฤติดีไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุขทำให้ข้าราชการครูจำนวน 2 คน ได้รับเกียรติบัตรครูดีไม่มีอบายมุขระดับ สพฐ. ส่งเสริมและพัฒนาครูเพื่อให้ครูและบุคลากรสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถตามแนวทางของข้าราชการที่ดีและเป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป
ผลสำเร็จของสถานศึกษา ได้รับป้ายจากมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โรงเรียนผ่านการประเมินรอบที่สอง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ปีการศึกษา 2559-2560 ระดับประเทศ, ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560, ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 เป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่มีผลการดำเนินการผ่านเกณฑ์ตามอัตลักษณ์ 29 ประการ สู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ปีการศึกษา 2559, ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดพัฒนาตนเองด้วยระบบการฝึกอบรมแบบ e-Training (UTQ Online) ได้ครบถ้วน ปีการศึกษา 2559, ได้รับเกียรติบัตรจาก สถานีตำรวจภูธรลี้ จังหวัดลำพูน เป็นสถานศึกษาที่เข้าร่วมกิจการงานตำรวจในการปกป้องและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2559-2560, ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practices) ตามนโยบายโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2560
ผลสำเร็จของผู้บริหารสถานศึกษา (ผู้รายงาน) ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่พัฒนาตนเองโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่การปฏิบัติงานเป็นฐานด้วยระบบออนไลน์ (TEPE Online) ตั้งแต่ 10 วิชาขึ้นไป ประจำปี 2559, ได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 รางวัลการบริหารจัดการโรงเรียนดีเยี่ยม โครงการห้องเรียนคุณภาพ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560
1.3 ด้านที่ 3 ด้านวิชาการ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านหล่ายท่า ร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการที่จะพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน ปรับเป้าหมายและทิศทางการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้การศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะชีวิต ตลอดจนวิเคราะห์บริบททั้งภายในและภายนอก โรงเรียน รวมทั้งประเมิน ความเป็นไปได้ของโรงเรียน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทุกฝ่าย เพื่อจัดทำโครงสร้างของหลักสูตร ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดให้มีในหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยบูรณาการเนื้อหาสาระทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามความเหมาะสม นำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ และบริหารจัดการหลักสูตร ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ที่ส่งเสริมพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง และปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแก้ปัญหารวมถึงการสร้างผลงานและเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและยั่งยืน โดยคำนึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นผู้เรียนให้ทำกิจกรรม ฝึกทักษะให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดการพัฒนาทุกด้านเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดปัญญาที่หลากหลาย โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพหุปัญญาแต่ละด้านให้นักเรียน มีการควบคุมกำกับ ติดตาม นิเทศ การใช้หลักสูตร ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร อย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา โรงเรียนได้นำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวน ภายใน ได้มีการประเมิน แผนงาน โครงการประจำปี เพื่อให้เห็นถึงจุดเด่น จุดด้อยของแผนงาน โครงการ ซึ่งจะได้นำผลมาตัดสินแผนงานโครงการ ว่าบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่และเพื่อนำมาทำรายงานการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษา (SAR) ซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่องและเป็นสรุปผลการดำเนินการด้านการบริหารงานวิชาการ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา ด้านที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมด้านวิชาการ ปรับปรุง แก้ไขและพัฒนา
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านภาษา ที่จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงทางภาษา ด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน โดยให้นักเรียนได้ฝึกฝนการปฏิสัมพันธ์ด้านการสื่อสารโต้ตอบกับผู้อื่นทั้งจากการตอบคำถาม และระหว่างทำงานกับเพื่อน ทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคน จนได้รับเกียรติบัตรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2 เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อ่านออกเขียนได้ทุกคน ปีการศึกษา 2559-2560 เป็นโรงเรียน ที่มีนักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปี การศึกษา 2560 และจากผลการทดสอบการวัดและประเมินผลทางวิชาการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนสูงขึ้น โดยดูได้จากการประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การประเมินความสามารถพื้นฐาน ของนักเรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านภาษา ปีการศึกษา 2559-2560 นักเรียนมี ผลการประเมินในระดับที่พัฒนาขึ้น และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งปีการศึกษา 2559 และ 2560 นักเรียนมีผลการทดสอบโดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านดนตรี ที่จัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระอย่างเต็มที่ในการแสดงออกทางดนตรี เสียงเพลง ส่งผลให้นักเรียนชอบการร้องเพลง ฟ้อนรำ ร้องรำทำเพลง กิจกรรมยามว่างหรือชั่วโมงซ่อมเสริมครูมีการสอนร้องเพลงฟังเพลงเล่นดนตรี นักเรียนให้ความสนใจชื่นชอบมากทำให้ นักเรียนมีเจตคติที่ดีด้านดนตรี กล้าแสดงออกในการเต้นประกอบเพลง กิจกรรมการแสดงในวันสำคัญต่างๆ นักเรียนให้ความสนใจและชื่นชอบที่จะแสดงเต้นประกอบเพลงและสามารถแสดงออกมาได้เป็นอย่างดี และก่อนเข้าเรียนในตอนบ่าย นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมนั่งทำสมาธิฟังเสียงเพลง เสียงดนตรีทำนองเสียงธรรมชาติเพื่อให้จิตใจสงบก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย ทำให้นักเรียนมีสมาธิต่อการเรียนดีมาก
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ที่จัดกิจกรรมการเปรียบเทียบ บอกความสัมพันธ์ บอกจำนวน บอกเหตุผล คิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนคิดได้อย่างมีเหตุผล มีระบบ รู้จักการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559-2560 นักเรียนมีผลการประเมินในระดับที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่ สพฐ.และระดับประเทศ สำหรับผลการทดสอบค่าเฉลี่ยทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนร้อยละสูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจากผลการทดสอบการวัดและประเมินผลทางวิชาการ ปีการศึกษา 2559-2560 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสถานศึกษาโดยมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น และจากการประเมินความสามารถพื้นฐานของนักเรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้านการคำนวณ ปีการศึกษา 2559-2560 นักเรียนมีผลการประเมินในระดับที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับ สพฐ.และระดับประเทศ
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ที่จัดกิจกรรมเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ได้ใช้ความคิดในการจัดวางภาพในตำแหน่งต่าง ๆ กำหนดทิศทางของภาพที่นักเรียนริเริ่มเอง เรียนรู้การจัดวางภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางมิติสูงขึ้น นักเรียนได้วาดภาพระบายสี คิดวางแผนในการวาดภาพด้วยตนเอง ได้ทำกิจกรรม ทำให้ทักษะพื้นฐานทางมิติสูงขึ้น
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ที่จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกฝนการใช้มือ นิ้วมือ และสายตาให้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน มีกิจกรรมที่พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยนักเรียนแสดงออกโดยการเคลื่อนไหวทางกายอย่างอิสระ เน้นการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนากล้ามเนื้อเล็กผ่านกิจกรรมวาดภาพ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านร่างกายและการเคลื่อนไหวสูงขึ้น มีพัฒนาการด้านร่างกายโดยแสดงออกด้วยการแสดงท่าทาง การเคลื่อนไหวของท่าทางต่าง ๆ
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ที่จัดกิจกรรมเพาะปลูกพืชโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น การนำพืชผักที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเพาะปลูกเพื่อนำมาเป็นอาหารของคนและสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์ได้ ทำเป็นปุ๋ย ให้นักเรียนเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเอง โดยเริ่มจากท้องถิ่นของตนเอง ทำให้นักเรียนรักท้องถิ่น รักสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้สิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า รู้จักบำรุงรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมด้วยตนเองตลอดเวลา ได้วิเคราะห์ความพึงพอใจในการทำกิจกรรม และได้สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้นักเรียนมีอิสระในการแสดงออกด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และมีความตั้งใจในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ผลจากการดำเนินการสอนแบบบูรณาการพหุปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ ที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม ใช้อุปกณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ร่วมกัน ทำให้นักเรียนรู้จักแบ่งปัน รู้จักรอ รู้จักวิธีการเข้ากลุ่ม และลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ได้ข้อคิดเห็น ข้อตกลงร่วมกัน ทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ทักษะทางสังคมด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้แสดงความคิดเห็นและรู้จักยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี นักเรียนรู้จักแบ่งบันและมีน้ำใจต่อเพื่อน
2. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
2.1 จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.52) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่ 3 วิชาการ เมื่อพิจารณาเป็นค่าเฉลี่ยรวมรายด้านพบว่า
2.1.1 ด้านที่ 1 กายภาพ ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.1.2 ด้านที่ 2 การบริหาร ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
2.1.3 ด้านที่ 3 วิชาการ ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา โรงเรียนบ้านหล่ายท่า อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน โดย นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และบุคคลอื่น มีค่าเฉลี่ยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ฐานการเรียนรู้บ้านต้นไม้ ลานกิจกรรมบนบ้านต้นไม้ ประกอบด้วย ปีนป่าย สไลเดอร์ ใต้ถุนบ้านมีลานทราย ค้นหาฟอสซิล เล่นน้ำ ดิน ( = 4.75) อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ รั้วโรงเรียน ( = 4.34)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา
1.1 ด้านกายภาพ โรงเรียนควรมีการแสดงแผนผังเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาอย่างชัดเจน การปรับปรุงบ้านพักครูให้เหมาะสม ปลอดภัย และควรมีห้องประชุมที่เหมาะสม สวยงาม เพียงพอกับนักเรียน ผู้ปกครอง
1.2 ด้านการบริหาร โรงเรียนควรมีการดำเนินการจัดหางบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซมพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย เหมาะสม คุ้มค่า เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ มีการติดตาม ตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ควรมีการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนเสนอแนะแนวทางในการบริหาร และควรมีการจัดทำข้อมูล สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพและปัญหาของโรงเรียน
1.3 ด้านวิชาการ ครูควรมีการซักถามนักเรียนในการเรียนเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการแสดงความคิดเห็น และเสนอแนวคิด และมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปัญญาด้านดนตรีมากขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 เนื่องจากการศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญาของนักเรียน จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ในครั้งต่อไป
2.2 โรงเรียนควรมีการศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนปลอดขยะในครั้งต่อไป