ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการเรียนรู้ในท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางกัลยาณี ภักดีกลาง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองโกวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ (The Project Approach) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) ศึกษาระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 3) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุ 4 ปี จำนวน 23 คน เป็นชาย 16 คน หญิง 7 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหนองโกวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเพื่อดำเนินการทดลอง โดยจัดให้เด็กได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach) 5 โครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach ) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 2) แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) เท่ากับ 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้งฉบับเท่ากับ 0.864 การศึกษาครั้งนี้ ใช้แผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดลองโดยอาศัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนการทดลอง ในช่วงการทดลอง และหลังการทดลอง ซึ่งประยุกต์มาจากการดำเนินการวิจัยแบบ One Group Time - Series กับแบบ One Group Pretest - Posttest design เข้าด้วยกัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกณฑ์ 80/80 วิเคราะห์คะแนนก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach)โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ โดย / มีค่าเท่ากับ 81.53/82.33
2. ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.70 คะแนน เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายทักษะพบว่า ทักษะการสังเกต ทักษะ
การจำแนกประเภท และทักษะการสื่อความหมายข้อมูล อยู่ในระดับดีมากทุกทักษะ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.22 8.13 และ 8.35 ตามลำดับ
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (The Project Approach) โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวม สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายทักษะ พบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท และทักษะการสื่อความหมายข้อมูล สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05