การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented..
ชื่อเรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ครูผู้สอน นางสาวปวีณุช ภูพวก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี
สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2561
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนตระกาศประชาสามัคคี อำเภอ กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 แผน จากหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบอิงเกณฑ์ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .30 ถึง .94 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR(Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6930 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.30
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนจากกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียน (x-bar) = 25.47 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน (x-bar) = 15.23 แสดงว่า การจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ด้วยสื่อ AR (Augmented Reality) เรื่อง ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69