พัฒนาเกมการศึกษาอ่านจับใจความตามค่านิยมรักความเป็นไทย
ผู้ศึกษา นางนันทวัน คงยอด
สถานศึกษา โรงเรียนวัดรัตนวราราม อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง พัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เกมการศึกษา และเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาเกมการศึกษาและเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ก่อนและหลังการใช้เกมการศึกษา และเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อเกมการศึกษา และเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดรัตนวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive Sampling) โดยใช้เนื้อหาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สาระที่ 1 การอ่าน เรื่องการอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) เกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องสนุกหรรษากับนิทาน เล่มที่ 2 เรื่องสืบสานการละเล่นของเด็กไทย และเล่มที่ 3 เรื่องร้อยดวงใจด้วยเสียงเพลง (2) เอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องสนุกหรรษากับนิทาน เล่มที่ 2 เรื่องสืบสานการละเล่นของเด็กไทย และเล่มที่ 3 เรื่องร้อยดวงใจด้วยเสียงเพลง (3) แผนการจัดการเรียนรู้ (คู่มือครู) ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเอกสารประกอบเกมการศึกษา จำนวน 13 แผน เวลา 18 ชั่วโมง (4) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 2 จำนวน 30 ข้อ แบบปรนัย มี 3 ตัวเลือก (5) แบบประเมินความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการทดสอบจนมีประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพ 80/80 (E1/E2) และการทดสอบที (T-Test )
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของเกมการศึกษาและเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องสนุกหรรษากับนิทาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.50/90.50 เรื่องสืบสานการละเล่นของเด็กไทย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.50/91.50 และเรื่องร้อยดวงใจด้วยเสียงเพลง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.50/93.00 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.50/91.61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้วยการจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษา และเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย มีคะแนนทดสอบผลการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อเกมการศึกษาและเอกสารประกอบเกมการศึกษา ชุดการอ่านจับใจความ ตามค่านิยมรักความเป็นไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เกมการศึกษามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.60 และเอกสารประกอบเกมการศึกษามีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.64 โดยภาพรวมเกมการศึกษาและเอกสารประกอบเกมการศึกษา มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62