รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ
เรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ผู้ศึกษา นายนรพัทธ์ กล้าณรงค์ ครูชำนาญการ โรงเรียนชุมชนบ้านสันจำปา
สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีที่ศึกษา 2560
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียน และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ เขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนชุมชนบ้านสันจำปา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน จาก การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, วิเคราะห์ร้อยละความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t – test)
สรุปผล
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.72/88.42
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้า เท่ากับ 15.83 หรือ ร้อยละ 52.78 2 ) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (แสดงค่า t – test) พบว่า ค่า t มีค่าเท่ากับ 28.420 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า ด้านที่นักเรียนมีระดับความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ส่วนด้านที่นักเรียน มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการนำเสนอกระบวนการเรียนรู้