การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สั
และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อ-ชื่อสกุลผู้ทำผลงาน : นางธารารัตน์ กาศกระโทก
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการเรียนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย ในการสุ่ม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 4 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 4 เล่ม 2) แผนการจัด การเรียนรู้ สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 23 แผน รวม 23 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.13/81.69 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก