การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมที่ส่งเสริมก
ผู้วิจัย นางบุญสิริ จุติ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยโป้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีที่เผยแพร่ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสร้างและรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมที่ส่งเสริมการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยโป้ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดกาเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมที่ส่งเสริมทักษะการคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาสตร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี(Mixed-method Methodology) 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนารูปแบบการสอนโดยการสังเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ขั้นตอนที่ 2 ประเมินรูปแบบการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญและทดลองใช้ในสถานการณ์จริง หาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามเกณฑ์ 75/75 หาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และศึกษาเจตคติที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
โดยใช้รูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. เพื่อสร้างและรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมที่ส่งเสริมการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) จุดประสงค์ 3) สาระและเนื้อหา 4) กิจกรรมและขั้นตอนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิซึม มี 7 ขั้น ดังนี้ ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ขั้นรับรู้ประเด็นปัญหา กำหนดแนวทางในการแสวงหาข้อมูล ขั้นสรุปประด็นโครงสร้างใหม่ทางปัญญาด้วยตนเอง ขยายโครงสร้างใหม่ทางปัญญาของตนเอง ขั้นประเมินผล ขั้นนำความรู้ใหม่ไปใช้ 5) การวัดและประเมินผล
2. รูปแบบการสอนเชิงทฤษฎี มีความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบอยู่ในระดับมาก และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาตามรูปแบบการสอน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. มีประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน (E1/E2) เท่ากับ 78.75/77.50 และมีดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เท่ากับ .09 นอกจากนี้ นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก
โดยสรุปรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคติวิซึมที่ส่งเสริมการคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคระห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ในระดับมาก จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์นำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิดที่จำเป็นต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป