เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ รองกรุณ วงศ์ใหญ่
ผู้รับผิดชอบ นายกรุณ วงศ์ใหญ่
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของโรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ
กลุ่มตัวอย่างใช้ประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการในโรงเรียนคลองกะจะ
(พงษ์สมบัติบำรุง) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยครูและบุคคลากร จำนวน 26 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 หัวหมาก เขตบางกะปิ จำนวน 3 คน ผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 306 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 306 คนเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเห็นทั้ง 4 ด้าน โดยใช้มาตรวัด 5 ระดับ แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นแบบเลือกตอบ ถูก – ผิด และแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพด้วยตัวเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ เป็นแบบมาตราวัด 4 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า
1) ความคิดเห็นด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.72)
2) ความคิดเห็นด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคาร สถานที่ และบุคลากร
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.75)
3) ความคิดเห็นด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.69)
4) ความคิดเห็นด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ค่าเฉลี่ย = 4.66 )
และความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 88.03) และพฤติกรรมสุขภาพ
ด้วยตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติ อยู่ในระดับดีมาก ( ค่าเฉลี่ย = 2.94 )
โดยสรุปโครงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ของโรงเรียน
คลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 ได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งกลุ่มครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ศูนย์บริการสาธารณสุข 35 ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติและพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเองตามสุขบัญญัติแห่งชาติอยู่ในระดับดีมาก ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพที่ดี จึงสมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง