LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์

นางกาบจันทร์ วงค์พุทธคำ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนากิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
        ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย        นางกาบจันทร์ วงค์พุทธคำ
ปีการศึกษา    2558
บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การวิจัยครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของการพัฒนากิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 2) การพัฒนาเป็นการออกแบบและพัฒนาหาประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย 3)เป็นการทดลองใช้กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น 4) เพื่อหาประสิทธิผลของกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น 4.2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการใช้กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น 4.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง เทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัยและครูผู้สอนระดับปฐมวัย จำนวน 1 ชุด2) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 40 กิจกรรม โดยใช้ประกอบแผนการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 40 แผน 3) แบบสังเกตพฤติกรรม 4) แบบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 20 ข้อ ซึ่งใช้ประเมินก่อนและหลังการจัดกิจกรรม 5)แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย เลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สูตรหาค่าเฉลี่ย ( ) และสูตรหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบ ค่า t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis)
     ผลการวิจัยพบว่า 1.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของการพัฒนากิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ประกอบด้วย 1) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่ส่งเสริมความ สามารถมิติสัมพันธ์ด้านความเหมือนความต่าง จำนวน 12 กิจกรรม 2) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่ส่งเสริมความ สามารถมิติสัมพันธ์ด้านความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน จำนวน 14 กิจกรรม 3) กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่ส่งเสริมความสามารถมิติสัมพันธ์ด้านการต่อเข้าด้วยกัน และการแยกออกจากกัน จำนวน 14 กิจกรรม 2.กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.67/87.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 3) นำกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น ไปทดลองใช้กับเด็กอนุบาลปีที่ 3 เด็กมีความสุขสนุกสนานกับการทำกิจกรรม ผลการพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็ก หลังเรียนด้วยกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น มีคะแนน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น ระดับมาก ทุกรายการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^