การวิจัยและประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ผู้วิจัย นายเพยาว์ สายบุตร
โรงเรียน โรงเรียนบ้านคึม ตำบลกุดยาลวน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยและประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) ประกอบด้วยการประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านกระบวนการ สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านผลผลิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 4.1) สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน 4.2 สำหรับนักเรียน และ 4.3) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน 5) เพื่อเสนอแนะปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนจำนวน 46 คน และผู้ปกครอง จำนวน 46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ใช้สอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้สอบถาม 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 65 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 2 ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ด้านผลผลิตสำหรับนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และฉบับที่ 3 ใช้สอบถามความคิดเห็น ของผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ คือ ด้านผลผลิตสำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
0.26 – 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.55)
2. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.75)
3. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านกระบวนการ สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.62, S.D. = 0.78)
4. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านผลผลิต สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน และสำหรับผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.66)
5. การเสนอแนะปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โรงเรียนมีการนำนโยบายเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่การปฏิบัติ มีการบริหารจัดการ การใช้หลักสูตร การบูรณาการการจัดกิจกรรม การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การนำผลการวิจัยและการประเมินไปใช้ แต่ทรัพยากรและบุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณมีน้อย ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC: Professional Learning Community) การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การศึกษาดูงาน การยกย่อง เชิดชูเกียรติครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีผลการปฏิบัติดีเลิศ