รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรีย
ผู้ประเมิน : นางลักขณา เสริมสุข
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมหาการ
หน่วยงาน : โรงเรียนวัดมหาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีการศึกษา : 2557
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวนทั้งสิ้น 48 คน แบ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ผู้รับผิดชอบโครงการและครู จำนวน 3 คน นักเรียน จำนวน 14 คน และผู้ปกครอง จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของการประเมิน (ฉบับที่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของเนื้อหาตามโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ (ฉบับที่ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมด้านปัจจัยในการดำเนินการตาม
โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ (ฉบับที่ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ (ฉบับที่ 4) แบบสอบถามด้านผลผลิตของโครงการ (ฉบับที่ 5) แบบสอบถามด้านผลผลิตประเด็นความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบโครงการและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง (ฉบับที่ 6) และแบบสอบถามด้านผลผลิตประเด็นความพึงพอใจของนักเรียน (ฉบับที่ 7) เครื่องมือทั้ง 7 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.80 - 0.95 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินและข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ พบว่า ประเด็นการประเมินและตัวชี้วัดทุกตัว ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งหมด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ โดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.2 ความเหมาะสมในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.3 ความเป็นไปได้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
1.4 ความเหมาะสมของเนื้อหาตามโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประเด็นปัจจัยของโครงการโดยการประเมินจำนวน 7 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัดทั้ง 7 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 งบประมาณอยู่ในระดับมาก
2.3 วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมืออยู่ในระดับปานกลาง
2.4 เอกสารต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง
2.5 อาคาร สถานที่อยู่ในระดับมาก
2.6 ความร่วมมืออยู่ในระดับปานกลาง
2.7 ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการโดยการประเมิน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก และตัวชี้วัด ทั้ง 5 ตัวชี้วัดมีดังนี้
3.1 การดำเนินงานตามแผนอยู่ในระดับมาก
3.2 การให้ความสำคัญของผู้รับผิดชอบอยู่ในระดับมาก
3.3 การติดตามโครงการอยู่ในระดับมาก
3.4 การสื่อสารอยู่ในระดับมาก
3.5 การประสานงานอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ประเด็นผลผลิตของโครงการ โดยการประเมินจำนวน
5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 5 ตัวชี้วัดมีดังนี้
4.1 ประเด็นผลการประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมนิสับรักการอ่านทั้ง 5 กิจกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
4.2 ประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ประเมินพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ประเด็นความพึงพอใจของผู้รับผิดชอบโครงการและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ประเด็นความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการในภาพรวมของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก ประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก 3 ประเด็น คือ ประเด็นสภาพแวดล้อมของโครงการ ประเด็นปัจจัยของโครงการ และประเด็นกระบวนการดำเนินโครงการ ส่วนประเด็นผลผลิตของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด และตัวชี้วัดทั้ง 21 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 21 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมาก 12 ตัวชี้วัด และอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ ผู้ประเมินโครงการมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน
1.1 ควรมีการวางแผนการดำเนินงานตามโครงการไว้ในแผนปฏิบัติการหรือของโรงเรียน เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการในระยะยาว
1.2 ควรประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโครงการให้ทุกฝ่ายได้ทราบถึงความต้องการจำเป็นและการเตรียมการทั้งด้านคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือ ตลอดจนขั้นตอนกิจกรรม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญของการพัฒนา ความต้องการจำเป็น และเตรียมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 ด้านบริบทของโครงการควรมีการชี้แจงให้ครูและผู้เกี่ยวข้องทราบถึงประโยชน์ของการดำเนินโครงการ รวมทั้งทำความเข้าใจจุดประสงค์และเป้าหมายของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ ให้ทุกคนได้รับทราบ
1.4 ด้านปัจจัยนำเข้าควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือให้เพียงพอและตรงกับความต้องการใช้งานในโครงการ รวมทั้งการเตรียมงบประมาณ บุคลากรที่รับผิดชอบที่มีความเหมาะสมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถ และการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ควรพิจารณาตัวบุคคลให้เหมาะสม กระจายอำนาจการดำเนินการให้ครอบคลุมภารกิจ มอบหมายภารกิจให้ชัดเจน ตลอดทั้งจัดประชุมคณะกรรมการให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
1.5 ด้านกระบวนการควรเน้นการให้ความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินโครงการในครั้งต่อไป
2.1 จากการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ พบว่า สามารถจัดทำได้ในทุกโรงเรียนทุกระดับเพียงแต่ควรมีการปรับปรุงกิจกรรม การปฏิบัติให้มีความเหมาะสมกับระดับการศึกษา บริบทของสถานศึกษา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนหรือท้องถิ่น ควรเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในระยะยาวและยั่งยืน
2.2 ควรมีการประเมินความคงสภาพของโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนวัดมหาการ อย่างเป็นระยะ