การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีการจ
โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สถานที่ศึกษา โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้ศึกษา นายประมวล สุขสนิท
ปีที่ศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาความความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 24 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จึงมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.69/82.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7637 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 76.37
3. การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้น 5 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 5.54 คะแนน และ 16.58 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model) เรื่อง ความน่าจะเป็น มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือ ด้านการจัดด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน ( = 4.70, S.D. = 0.27) ส่วนด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผล( = 4.52, S.D. = 0.21)
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model )มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถนำไปพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้