การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตั
ผู้ศึกษาค้นคว้า นายกิตติพัฒน์ ค าแพง โรงเรียน โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี อ าเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน รายวิชาฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนิวตัน รายวิชาฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75 / 75 (2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 โดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้าง ทักษะการคิด เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน รายวิชาฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน รายวิชาฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จ านวน 24 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี อ าเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาจากการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย (1) แผนการจัด การเรียนรู้ จ านวน 5 แผน (2) ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด จ านวน 5 ชุด (3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ านวน 1 ฉบับ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จ านวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ (1) ค่าร้อยละ (2) ค่าเฉลี่ย (3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (4) การทดสอบที (t – test) แบบ One Sample ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน รายวิชา ฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จ านวน 5 ชุด ซึ่งทุกชุดมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 ที่ก าหนดไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการคิด เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน รายวิชาฟิสิกส์ 1 ว30201 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด