รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นางสาวสุดา ประดิษฐ์
ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนวัดสระประดิษฐ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/2 โรงเรียนวัดสระประดิษฐ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดำเนินการศึกษาใน ปีการศึกษา 2560 รวมระยะเวลาที่ใช้ทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (item-objective congruence index: IOC) ค่าความยาก (p) ค่าอำนาจจำแนก ( r ) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KuderRichardson’s KR-20) และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’scoefficient alpha) สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้การหาค่า E1 และ E2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.88/82.18 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหา การคูณและการหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด