เผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ ดวงพร บูรณะพงศ์ (1)
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนชลราษฎรอำรุง
ชื่อผู้วิจัย นางดวงพร บูรณะพงศ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
ปีที่วิจัย 2555
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุงมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง
วิจัยครั้งนี้ดำเนินการระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง ปีการศึกษา 2555 จำนวน 254 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถ
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) และสถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) โดยใช้วิธี Enter เพื่อดูตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แล้วจึงนำตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติไปสร้างสมการพยากรณ์ โดยใช้วิธี Stepwise
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผล นิสัยทางการเรียน และความเชื่ออำนาจภายในตน
3. ตัวแปรที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ความสามารถด้านเหตุผล นิสัยทางการเรียนและความเชื่ออำนาจภายในตน โดยมีประสิทธิภาพ การทำนายร้อยละ 63.60 ( =.636)
4. สร้างสมการพยากรณ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้สมการดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
CRI = -7.914 + 0.367 (MOT) + 2.067 (LBH) + 1.365 (SCC)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
CRI Z = MOT 0.530Z + LBH 0.325Z + SCC 0.155Z