รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
ปีที่ทำการรายงาน ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและปฏิกิริยาเคมี จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ โดยใช้คาสถิติแบบ t–test for Dependent Sample ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี ทั้ง 10 ชุด สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคือ 85.53/83.42, 81.58/81.05, 81.05/80.00, 81.32/80.53, 82.37/80.26, 81.58/80.00, 82.37/80.26,82.63/81.05, 81.84/80.00 และ 84.21/82.89 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.45/80.95
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) หลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี โดยภาพรวมเท่ากับ 4.16 อยู่ในระดับ มาก
สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ไม่เน้นวิทยาศาสตร์) ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ มาก มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้วิชาเคมีพื้นฐานได้