รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษา
ผู้วิจัย นางอาภรณ์ มุ่งสุข
หน่วยงาน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษาค้นคว้า ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1) ประชากร ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร และคณะครู จำนวน 53 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 306 คน รวมทั้งสิ้น 374 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 สำหรับสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยเปิดตารางสำเร็จรูปของ R.V Krcjcie และ R.W.Morgan ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (ไพฑูรย์ ลินลารัตน์ : 2557) ได้กลุ่มตัวอย่าง 187 คน (2) คณะผู้บริหาร ครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ สำหรับประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เลือกแบบมีจุดมุ่งหมายได้จำนวน 54 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการ จำนวน 3 คน คณะครู ได้แก่ ครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูแนะแนว ครูฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน ครูโภชนาการ ครูอนามัยโรงเรียน และครูประจำวิชา จำนวน 36 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นกรรมการและเลขานุการผู้แทนผู้ปกครองและผู้แทนครู) จำนวน 12 คน (ไพฑูรย์ ลินลารัตน์ : 2557) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้ปกครองและนักเรียน เป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด ฉบับที่ 2 สำหรับสถานศึกษา ใช้สอบถามคณะผู้บริหาร ครู ผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูแนะแนว ครูอนามัยโรงเรียนครูประจำวิชา เป็นแบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มสำหรับการศึกษาผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ กำหนดแนวทางการสนทนาตามกรอบภารกิจหลัก 5 ด้าน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนา การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อ 3) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ ด้านสุขภาพ ด้านครอบครัวด้านสารเสพติด ด้านความปลอดภัย และด้านพฤติกรรม ทางเพศ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยโดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต้องมากกว่าหรือเท่ากับ .60 แนะนำไปทดลองสอบถามผู้ปกครองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบราค (Conbrach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ.925 5) แบบประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยพลังความร่วมมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พิจารณาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยหาค่า IOC (Item Objective Congruence) โดยกำหนดเกณฑ์การพิจารณาค่า IOC แต่ละรายข้อต่อมากกว่าหรือ เท่ากับ.60 แล้วนำไปทดลองสอบถามนักเรียนก่อนผู้ให้การรายการที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์เอลฟาของคอนบราค (Conbrach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .963 (สมบูรณ์ ตันยะ.2551) ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การประเมินผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ 6) คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
จากการศึกษาการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์
1.1 ผลการศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้บริหารและคณะครูที่เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนมากที่สุด รองลงมาดำเนินการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข และดำเนินการส่งต่อตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกรอบภารกิจการดำเนินงาน 5 กิจกรรม ดังนี้
ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและ เมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่ามีการดำเนินการติดต่อประสานงานกับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานนักเรียนมากที่สุดรองลงมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคล และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างเป็นระบบตามลำดับ
ด้านการคัดกรองนักเรียนโดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า ครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และครูผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์การคัดกรองนักเรียนมีสภาพ การดำเนินการอยู่ในระดับมากเท่ากัน รองลงมานำผลการคัดกรองนักเรียนไปใช้ได้อย่างเหมาะสม และกำหนดแนวทางและผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสียง หรือกลุ่ม ที่มีปัญหาอย่างเหมาะสมและสรุปผลการคัดกรองนักเรียนและส่งข้อมูล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และร่วมกันพิจารณาและหาแนวทางพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไข นักเรียน อยู่ในระดับมากเท่ากัน
ด้านการส่งเสริมและพัฒนา โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา แต่ละรายการพบว่า มีการจัดกิจกรรมโฮมรูมอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมา จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียนตามลำดับ
ด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อ พิจารณาแต่ละรายการพบว่า ได้ความไว้วางใจจากผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมากที่สุด รองลงมา ครูมีจำนวนนักเรียนในความดูแลเหมาะสมตามเกณฑ์ และได้รับความร่วมมือ ในการเยี่ยมบ้านนักเรียนตามลำดับ
ด้านการส่งต่อนักเรียน โดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณา แต่ละรายการพบว่า มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่ส่งต่อนักเรียนภายนอกอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด รองลงมา ประสานความเข้าใจระหว่างครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา ครูประจำหอนอน และครูที่เกี่ยวข้องด้านข้อมูล พื้นฐานนักเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการประสานส่งต่อทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และมีการประสานส่งต่อนักเรียน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักเรียนตามลำดับ
1.2 ส่วนปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน จบการศึกษา ภาคบังคับ สถานภาพของผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นบิดา มารดา รายได้เฉลี่ยต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ จากการสอบถาม ผู้บริหาร คณะครูที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหา โดยเรียงลำดับความถี่มากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ได้แก่ ขาดการเยี่ยมบ้าน นักเรียนอย่างต่อเนื่อง และการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ด้านการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ ขาดการกำหนดแนวทางและผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่จัด อยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่มี ปัญหาอย่างเหมาะสม ผลการคัดกรองนักเรียนไม่ได้นำไปใช้ในกระบวนการช่วยเหลือ นักเรียนอย่างเป็นระบบ และขาดความรู้ความเข้าใจด้านการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านการส่งเสริมและพัฒนา ได้แก่ ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมระหว่างครูกับนักเรียนและนักเรียนกับนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนไม่ตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน และนักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมโฮมรูมไม่มาก ด้านการป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข ได้แก่ครูประจำชั้นมีภาระงานเกี่ยวกับนักเรียนประจำค่อนข้างมาก จึงมีเวลาดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง ขาดการประสานงานร่วมมือกับนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนอย่างสม่ำเสมอขาดทักษะในการใช้ภาษามือสำหรับการสื่อสารกับนักเรียน ทำให้ครูไม่สามารถสื่อสารกับนักเรียนได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อได้แก่ ขาดการประสานงานด้านข้อมูลพื้นฐานนักเรียนระหว่างครูประจำชั้น ครูประจำหอนอน ครูที่เกี่ยวข้องในการส่งต่อทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ขาดความรู้และทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเพื่อการส่งต่อ และขาดการติดตามผลการประสานส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2. ผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ปรากฏผล ดังนี้
2.1 กรอบการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย 5 กิจกรรมดังนี้
2.1.1 การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลมีความสำคัญอันดับแรกของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน โดยครูประจำหอนอนและครูประจำชั้นร่วมกันดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของนักเรียน และการได้รับความร่วมมือจากครูโภชนาการ ครูแนะแนวครูอนามัยโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนครอบคลุมด้านความรูความสามารถ สุขภาพครอบครัวความปลอดภัย สภาพแวดล้อม พฤติกรรมทางเพศ และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยจัดทำเป็นระเบียนสะสม สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ จัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้อย่างชัดเจน เช่น ปฏิทินการเยี่ยมบ้านนักเรียน การดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่างๆการจัดอบรมให้ความรู้ ทักษะเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแก่ครูทุกคนจัดหาและพัฒนาเครื่องมือการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานนักเรียนให้ได้มาตรฐานการประสานความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับนักเรียนผู้ปกครองและชุมชน จัดสรรงบประมาณ การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเหมาะสม เช่น การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รบผิดชอบหลัก มีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน
2.1.2 การคัดกรองนักเรียน
การคัดกรองนักเรียนเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของนักเรียนที่ได้ จากการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกลุ่มนักเรียน โดยมีเกณฑ์การคัดกรองว่าความรุนแรงหรือความถี่ของพฤติกรรม ใด จึงจะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มมีปัญหา ซึ่งได้ดำเนินการรูปแบบคณะกรรมการรวมทั้งการใช้ แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก (SDQ) ของกระทรวงสาธารณสุขร่วมด้วย สำหรับกิจกรรมที่ได้ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ จัดให้ความรู้ พัฒนาทักษะการคัดกรองนักเรียนและจำแนกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นระบบ ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเกี่ยวกับการให้รายละเอียดข้อมูลของนักเรียน และการสรุปผลการคัดกรองนักเรียนโดยแยกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหา ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อพิจารณาแนวทางส่งเสริมพัฒนา ช่วยเหลือและแก้ไข และการส่งต่อ
2.1.3 การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับกลุ่มปกติดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา กลุ่มเสี่ยงดำเนินกาจัดกิจกรรมป้องกัน เช่น ประชุมนักเรียน 1 ครั้งต่อเดือน และกลุ่มที่มีปัญหาดำเนินการประสานความร่วมมือในการช่วยเหลือและแก้ไข สำหรับกิจกรรมที่ร่วมกันดำเนินการ ได้แก่ การสร้างเจตคติและแรงจูงใจต่อการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนานักเรียนแก่ครูทุกคน การจัดทำคู่มือเอกสารแนวทางการจัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน จัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะของกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาอย่างแท้จริง จัดกิจกรมส่งเสริมนักเรียนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมทุกกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติจัดกิจกรรมโครงการ สื่อนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการส่งเสริมพัฒนา ช่วยเหลือและแก้ไขนักเรียน และประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรม โครงการสื่อนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามความถนัดและความสนใจ
2.1.4 การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา
ครูประจำหอนอน และครูประจำชั้นควรให้ความดูแลเอาใจใส่กับนักเรียนในความรับผิดชอบทุกคนอย่างเท่าเทียม ส่วนกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนบริเวณรอบโรงเรียนเพื่อการสอดส่องพฤติกรรม และป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนอย่างเคร่งครัด โดยร่วมดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นเพื่อร่วมกันกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพนักเรียน มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณี ประสานการทำงานระหว่างครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น ครูแนะแนว และครูผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อส่งเสริม ป้องกันช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการนักเรียน ครูที่เกี่ยวข้องและชุมชนในการสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียนและการประสานความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
2.1.5 การส่งต่อ
การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น และครูผู้รับผิดชอบทุกคนควรให้ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดรวมถึงการพัฒนาภาษามือของครูเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจกับนักเรียนก็เป็นสิ่งจำเป็น กรณีนักเรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมที่อยู่ในเกณฑ์ที่ ทางโรงเรียนพอจะดูแล ช่วยเหลือ และแก้ไขได้นั้น จะส่งต่อไปยังฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือในเบื้องตัน หรือ หากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น เกิดการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วย หรือภาวะทุพโภชนาการ ประสานส่งต่อไปยังงานอนามัยโรงเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือและแก้ไข หากนักเรียนประสบปัญหาที่ยากต่อการช่วยเหลือและแก้ไข เช่น ความผิดที่รุนแรง จะดำเนินการสอบสวนในเชิงลึก ประสานผู้ปกครองผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้การช่วยเหลือ หรือการประสานส่งต่อเพื่อเข้าเรียนจนกว่าจะจบหลักสูตรในสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษด้วยกันเป็นต้น ทั้งนี้โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการพิจารณาพฤติกรรมของนักเรียน หรือการประสานส่งต่อกรณีนักเรียนมีปัญหาทางพฤติกรรมไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบคณะกรรมการ ประสานความร่วมมือกับผู้เชียวชาญเฉพาะด้านในการวินิจฉัยพฤติกรรมนักเรียนเพื่อการส่งต่อ ประสานงานกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการส่งต่อ การติดตามผลการ ส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียน และการติดตามผลอย่างเพียงพอ
2.2 ขั้นตอนการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์
2.2.1 การวางแผน เป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุดบุคคลที่เกี่ยวข้อง บทบาทหน้าที่ของพลังหลัก พลังเสริมและพลังเป้าหมาย เป็นต้น
นอกจากนี้ ในการวางแผนการดำเนินงานนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง เป็นต้นว่าโรงเรียนประสบปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ ปัญหาพฤติกรรมชู้สาว การทะเลาะเบาะแว้ง การทำลายทรัพย์สินโรงเรียน ซึ่งคณะกรรมการแต่ละคณะ จะดำเนินการวิเคราะห์สภาพความพร้อมพื้นฐานของโรงเรียนและวางแผนการดำเนินการโดยจัดทำแผนปฏิบัติงาน เป็นต้น
2.2.2 การปฏิบัติ เมื่อมีการวางแผนการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนแล้วในกระบวนการปฏิบัติคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการตามปฏิทินที่กำหนดพลังหลักสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน สร้างความตระหนักและความเข้าใจกับบุคลากร โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่จัดกิจกรรม จัดค่ายคุณธรรมจริยธรรม เยี่ยมบ้านนักเรียน จัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดและเอดส์ จัดกิจกรรมประกวดหอนอน จัดกิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง เป็นต้น
2.2.3 การตรวจสอบติดตามผลในรูปแบบคณะกรรมการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อทบทวนการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสดศึกษาจังหวัดสุรินทร์โดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำกับดูแลระบบการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้
2.2.4 การดำเนินการให้เหมาะสม การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์เป็นความพยายามในการพัฒนาระบบการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และนักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหานักเรียน จึงมุ่งเน้นการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการ เช่น เมื่อนักเรียนมีปัญหาด้านพฤติกรรมชู้สาว โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น ครูพ่อครูแม่ เพื่อปรึกษาหารือกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม โดยให้มาตรการการพักการเรียน การประสานส่งต่อเพื่อให้ได้รับการศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษาที่จังหวัดอื่น พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากทางโรงพยาบาลในการตรวจสุขภาพนักเรียน และคำแนะนำจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นตันนอกจากนี้ยังมีการประเมินผลเพื่อพัฒนาและสรุปรายงาน
2.3 พลังความร่วมมือในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์
2.3.1 พลังหลักในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ พลังหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
2.3.2 พลังเสริมในการพัฒนาระบบการดแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ชมรมผู้ปกครองและชุมชน ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลเชื้อเพลิง โรงพยาบาลอำเภอปราสาท สถานีตำรวจปราสาท องค์การบริหารส่วนตำบลเชื้อเพลิง ผู้นำชุมชนตำบลเชื้อเพลิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
2.3.3 พลังเป้าหมายประกอบด้วยนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของโรงเรียน โสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2.4 กิจกรรมการพัฒนาโดยใช้โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมการคัดกรองและประเมินความเสี่ยง 2) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน 3) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเอดส์ 4) กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักเรียน 5) กิจกรรมคุณธรรมจริยธรรม 6) กิจกรรมงานหอนอน 7) กิจกรรมการประชุมผู้ปกครอง
3. ผลการประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยพลังความร่วมมือ ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเมือพิจารณาในแต่ละรายการพบว่ามีระดับความพึงพอใจการสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียน และการติดตามผลอย่างเพียงพอและเป็นระบบมากที่สุด รองลงมา ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รับผิดชอบหลัก มีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน และจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นเพื่อร่วมกันกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนา ให้คำปรึกษา แนะนำอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพนักเรียนและอย่างถูกวิธี
3.2 ผลการประเมินการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยพลังความร่วมมื ของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาความร่วมมือการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยพลังความร่วมมือของโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์รายด้าน ผลปรากฏดังนี้
ความร่วมมือด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ครูประจำหอนอน ครูประจำชั้น หรือครูผู้รับผิดชอบหลักมีเวลาหรือกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างชัดเจน มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาการประสานความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน และจัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไว้อย่างชัดเจน เช่น ปฏิทินการเยี่ยมบ้านนักเรียนการดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
ความร่วมมือด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า การสรุปผลการคัดกรองนักเรียนโดยแยก เป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มทีมีปัญหา ครอบคลุมทุกระดับชั้น เพื่อพิจารณาแนวทางส่งเสริมพัฒนาช่วยเหลือและแก้ไขและการส่งต่อ มากที่สุด รองลงมาประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้รายละเอียดข้อมูลของนักเรียน และจัดให้ความรู้พัฒนาทักษะการคัดกรองนักเรียนและจำแนกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นระบบความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน พบว่า จัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมทุกกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา การสร้างเจตคติและแรงจูงใจต่อการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนานักเรียนแก่ครูทุกคนและจัดกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะของกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาอย่างแท้จริง
ความร่วมมือด้านการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข พบว่า ประสานการทำงานระหว่างครูประจำหอนอนครูประจำชั้นครูแนะแนวและครูผู้รับผิดชอบหลักเพื่อส่งเสริมป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียนมากที่สุดรองลงมาประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานคณะกรรมการนักเรียน ครูที่เกี่ยวข้องและชุมชนในการสอดส่องพฤติกรรมของนักเรียน และการประสานความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน
ความร่วมมือด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า การติดตามผลการส่งต่อนักเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากที่สุดรองลงมาสนับสนุนงบประมาณในการส่งต่อนักเรียนและการติดตามผลอย่างเพียงพอและประสานงานกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความสะดวกในการส่งต่อ