การสร้างและพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ บทปร
กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน วัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) จำนวน 25 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ บทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน แบบเลือกตอบ (ปรนัย) มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.08 - 0.92 และค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง –0.12 ถึง 0.89 หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 ได้เท่ากับ 0.86 ซึ่งคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.20 - 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0.20 ได้จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1.ประสิทธิภาพของนวัตกรรมชุดแบบฝึกเรื่องบทปะยุกต์ เท่ากับ 83.68/80.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านการเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ บทประยุกต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 80.27 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
3.ความก้าวหน้าของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ บทประยุกต์ มีคะแนนความก้าวหน้าอยู่ในช่วงระหว่าง 6 ถึง 10 คะแนน และมีความก้าวหน้าโดยรวมร้อยละ 28.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าผลการพัฒนาต้องมีความก้าวหน้าไม่น้อยกว่าร้อยละ 25