รายงานการใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษ
ชื่อผู้ศึกษา ศุภธณิศร์ น้ำคำ
ที่ปรึกษา พิพัฒน์ สายสอน
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนและหลังใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้เรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 รวมทั้งหมด 70 คนโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนทั้งหมด 1 วิชา แบ่งออกเป็น 12 หน่วยเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นแบบทดสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ หาค่าประสิทธิภาพของสื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร E1/E2 หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกข้อสอบรายข้อ ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้เทคนิค 25% หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากสูตร KR-20 ของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder Richarson) วิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียน โดยการหาเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการทดสอบค่า (t-test) สรุปผลได้ดังนี้
1. สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนทั้งหมด 1 วิชา แบ่งออกเป็น 12 หน่วยเรียน มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.08/82.86 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 16.45 คิดเป็นร้อยละ 41.13 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 33.87 คิดเป็นร้อยละ 84.68 และเมื่อทำการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สื่อการสอนการใช้โปรแกรม Photoshop CS6 วิชาคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด( =4.58 S.D.=0.67) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 16 ข้อ ได้แก่ ความน่าสนใจของเนื้อหา มีการบอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจน โครงสร้างเนื้อหาชัดเจน จัดลำดับตามความยากง่ายได้เหมาะสม เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักสูตร เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหาความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน ใช้ภาษาถูกต้อง เหมาะสม สามารถเข้าใจได้ง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมกับบริบทของเนื้อหา เนื้อหามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ลำดับเนื้อหา และแบบฝึกตามความยากง่ายได้อย่างเหมาะสม ความยาวของการนำเสนอแต่ละหน่วย/ตอน มีความเหมาะสม กลยุทธ์การประเมินผลเหมาะสม ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ออกแบบหน้าจอเหมาะสม ง่ายต่อใช้ xxxส่วนการแสดงผลของภาพ และเนื้อหามีความเหมาะสมสวยงาม ขนาดสี ตัวอักษร ชัดเจน สวยงาม อ่านง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน ภาพกราฟิกเหมาะสม ชัดเจน สอดคล้องกับเนื้อหา ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลลัพธ์ มีความเหมาะสมกับผู้เรียน และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความยากง่ายพอเหมาะกับผู้เรียน ผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จำนวน 7 ข้อ มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล การถ่ายทอดเนื้อหาสนใจ น่าติดตาม การออกแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้โปรแกรม มีความง่าย สะดวก โต้ตอบกับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ การให้ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลการทำงาน เสริมแรง ให้ความช่วยเหลือเหมาะสมตามความจำเป็น มีกิจกรรมที่สามารถตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน ผลป้อนกลับ หรือการแสดงผลลัพธ์ มีความหลากหลาย ท่านมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด นอกนั้นมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง