LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ การเป็นบุคคลแห่งก

usericon

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ของครู โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 333 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน ครู ปีการศึกษา 2559 จำนวน 92 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 103 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2559 จำนวน 333 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 และ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาครอบคลุม 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น และแบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้แก่ ความเชื่อมั่นระหว่าง .879-.790 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS Version 19 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการวิจัย    
1.    ผลการศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า    
        ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, S.D. = .15) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.87, S.D. = .11) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มครู ( = 3.75, S.D. = .23) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.74, S.D. = .13) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
        ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .15) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66, S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน ( = 4.63, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.59, S.D. =.13) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน แสดงว่าปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าพัฒนา เท่ากับ +0.84 สอดคล้องตามสมมติฐาน
2.    ผลการศึกษาคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.86, S.D. = .12) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.87, S.D. = .11) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.85, S.D. = .14) อยู่ในระดับมาก
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = . 09) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.62, S.D. = .09) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ครูมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.61, S.D. = .11) อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่า ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าพัฒนา เท่ากับ +0.76 สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.    ผลการศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ ของครู โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
        ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก ( = 3.63, S.D. = .28) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.64, S.D. = .25) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 3.62, S.D. = .25) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
    ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = .24) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.74, S.D. = .13) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.63, S.D. = .24) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน แสดงว่าปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยพัฒนา สูงกว่าปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีค่าพัฒนา เท่ากับ +1.05 สอดคล้องตามสมมติฐาน
    4.    ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
    4.1    ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา     
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย GPA 2.92 เมื่อพิจารณาแยกเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) พบว่า ระดับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) มีค่าคะแนนเฉลี่ย GPA 2.87 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) มีค่าคะแนนเฉลี่ย GPA 2.97
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย GPA 2.98 เมื่อพิจารณาแยกเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) พบว่า ระดับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) มีค่าคะแนนเฉลี่ย GPA 2.88 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) มีค่าคะแนนเฉลี่ย GPA 3.08 แสดงให้เห็นว่า ปีการศึกษา 2560 มีค่าพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2559 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4.2    ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา พบว่า
    นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 39.00 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.02 โดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง – 4.98 เพื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าพัฒนาสูงสุด เท่ากับ +1.44 นอกจากนั่นลดลงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยลดลงน้อยที่สุด เท่ากับ -1.47 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์มีค่าเฉลี่ยลดลง มากที่สุด เท่ากับ -3.41
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 32.38 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.42 โดยภาพรวมค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง -0.95 เพื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ มีค่าพัฒนาสูงสุด เท่ากับ +1.62 นอกนั้นค่าเฉลี่ยลดลงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษามีค่าเฉลี่ยลดลงน้อยที่สุด เท่ากับ -0.65 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยลดลงมากที่สุด เท่ากับ-3.20 แสดงให้เห็นว่า หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 มีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน
5.    ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ของนักเรียน โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2559-2560
        ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.66, S.D. = .17) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ( = 3.77, S.D. = .11) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 3.70, S.D. = .17) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.56, S.D. = .15) อยู่ในระดับมาก
        ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D. = .18) และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ( = 4.81, S.D. = .14) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.75, S.D. = .45) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.70, S.D. = .20) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน แสดงให้เห็นว่าปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2559 โดยมีค่าพัฒนา ภาพรวมเท่ากับ +1.10 สอดคล้องตามสมมติฐาน

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
1.    ข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่นในการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจะเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนคุณภาพงานให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นผู้บริหารจึง ควรศึกษาหลักการ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และนโยบายการจัดการศึกษาและนำไปสู่การปฏิบัติตามบริบทของแต่ละสถานศึกษา
2.    สถานศึกษาควรจัดทำแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน โดยส่งเสริมให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ตามบริบทของสถานศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม
3.    สถานศึกษาควรชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกัน กับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงความจำเป็นและความสำคัญของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของนักเรียน มีการกำกับ ติดตาม และเสริมสร้างขวัญกำลังแก่บุคลากร หรือผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเมื่อปฏิบัติงานเกิดผลสำเร็จ หรือมีวิธีการปฏิบัติที่ดี (Good Practices / Best Practices)
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนใน 3 เรื่อง ดังนี้
1.1    การส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
1.2    การส่งเสริมจิตสาธารณะของผู้เรียน
1.3    การเสริมสร้างความเป็นพลเมือง และพลโลกของผู้เรียน
2.    ควรวิจัยและพัฒนา รูปแบบการบริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทาง “ประชารัฐ ร่วมใจ” นำพาเด็กไทยสู่สากล

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^