การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระก
เรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย นางสาววฤณภา เทียมสองชั้น
ปีที่ทำการวิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวสต์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด มีคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 35 คน กำลังศึกษาอยู่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียน เทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี วิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต จำนวน 9 แผน รวม 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกประจำวันของผู้วิจัย แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารกับ
การดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สามารถสรุปขั้นตอนในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ดังนี้
1.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
เป็นขั้นที่ครูเตรียมความพร้อมของนักเรียนประกอบด้วย การทบทวนเนื้อหาความรู้เดิม โดยใช้คำถาม รูปภาพ บทความ ข่าว และการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบโดยเขียนบนกระดาน
1.2 ขั้นสอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.2.1 ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา เป็นขั้นที่ครูใช้ภาพ สถานการณ์
และการใช้สื่อที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้และค้นหาคำตอบ นำไปสู่ความขัดแย้งทางปัญญา ทำให้นักเรียนอยากค้นหาคำตอบของปัญหาหรือคำถามนั้น
1.2.2 ขั้นไตร่ตรอง นักเรียนรวมกลุ่ม ๆ ละ 5 คน เป็นขั้นตอนการนำเสนอคำตอบและเหตุผลต่อกลุ่มย่อย มีการอภิปรายร่วมกันภายในกลุ่มของตนเอง ตรวจสอบคำตอบร่วมกัน โดยใช้ใบความรู้ ใบงาน หรือใบกิจกรรม เป็นหลักในการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปว่าคำตอบใดมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และสมาชิกในกลุ่มเห็นด้วยมากที่สุด
1.2.3 ขั้นสรุปโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ครูกำหนดประเด็นคำถามหรือประเด็น
การอภิปราย แล้วมีการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดและแสดงความเห็นอย่างเต็มที่โดยอาศัยความรู้ที่นักเรียนได้เรียนมาก่อนแล้ว จากนั้นนักเรียนสร้างความรู้ขึ้นภายในกลุ่มตน ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
1.3 ขั้นสรุป เป็นขั้นตอนที่นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายสรุปบทเรียนโดยใช้คำถาม และครูช่วยสรุปเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนได้ความคิดรวบยอดและหลักการที่ชัดเจนถูกต้อง นักเรียนสรุปเนื้อหาในรูปแผนผังความคิดและผังมโนทัศน์ และทบทวนความรู้โดยการทำใบงาน
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่า มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 29 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 82.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ พบว่าจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 30 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 85.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 75
4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในด้านเนื้อหาวิชา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผล มากทุกรายการ