LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อผลงาน    ะ รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้
     กิจกรรมการนิเทศภายใน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2559-2560
ผู้รายงาน ะ นายสุภาพ เจริญผล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2559-2560
บทสรุป
การประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียน!ของครู โดยใช้กิจกรรมการนิเทศ ภายในโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา2559-2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเพิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) เปีนกรอบแนวคิดในการประเมิน โดยประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ประเมินบริบท ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1)ประสิทธิภาพการจัดการเรียนของครูด้านการวางแผนการจัดการเรียนเการเตรียมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล 2) ผลสัมฤทธิ์'ทางการ เรียนรู้ของนักเรียน 3) ดุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ของครู 5) ความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้ของครู และ 6) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการ จัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายใน ในการประเมินครั้งนี้ศึกษาจากประชากร คณะกรรมการการนิเทศภายใน ปีการศึกษา2559และ 2560จำนวน 13คนและศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย ครู ปีการศึกษา 2559 และ 2560 จำนวน 70 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน 317 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 313 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2559 และ 2560 จำนวน 13 คนและกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2559 จำนวน317คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ลักษณะที่ 1 มีลักษณะ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านบริบท ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามความคิดเห็น ของนักเรียนและ คณะกรรมการนิเทศภายใน ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้ ของครู ฉบับที่ 6 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้ของครู ฉบับที่ 7 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายใน ลักษณะที่ 2 มีลักษณะเป็น แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง ได้แก่ ฉบับที่ (8.1 และ 8.2) แบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติ
(O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่.3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559 และ 2560 และ ฉบับที่ 9 แบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะกันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
การประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กิจกรรมการนิเทศ ภายในโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 สรุปผลตางJวัตลุประสงค์ได้ ดังนี้
1.    ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 ตามความ คิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน พบว่า ปีการศึกษา 2559โดยภาพรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.68, S.D. = 0.60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน แต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม สูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.75, S.D. = 0.53) ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือ ด้านความ สอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานด้นสังกัด (X = 4.74, S.D. = 0.78) ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนด้านที่มี ความเหมาะสมตาสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ที่สุด (x = 4.54, S.D. = 0.47) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.74, S.D. = 0.61) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านความต้องการ จำเป็นในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.80, S.D. = 0.49) ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานด้นสังกัด (X= 4.79, S.D. = 0.66) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีความเหมาะสมตาสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ในการ ดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.62, S.D. = 0.67) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาการจัด กระบวนการเรียนรู้สู่คุณภาพนักเรียน ด้วยกิจกรรมการนิเทศภายใน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า ปีการศึกษา 2559 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (X= 4.34, S.D. = 0.74) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่เมื่อ พิจารณาแต่ละด้าน พบว่าปัจจัยด้านบุคลากร มีความพร้อมสูงสุดอยู่ในระดับมาก (X =4.44,SD.=0.70)
ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือปัจจัยด้านผู้สนับสนุนของโครงการ (x = 4.38, S.D.= 0.67) ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนด้านที่มีพร้อมตาสุด คือ ปัจจัยด้านงบประมาณมีความพร้อมในระดับมาก (x = 4.23, S.D. = 0.81) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.49, S.D. =
0.    60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ปัจจัยด้าน บุคลากร มีความพร้อมสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( X = 4.68, S.D. = 0.50) ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือ ปัจจัยด้านงบประมาณ (x = 4.58, S.D. = 0.61) ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนด้านที่มีพร้อมตาสุด คือ ความพร้อมด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์ (X= 4.52, S.D. = 0.72) และด้านผู้สนับสนุนโครงการ (X= 4.52, S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.    ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการ เรียนรู้ของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X =4.48, S.D. = 0.74) ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า การดำเนินงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ ในระดับมากที่สุด (X= 4.56, S.D. = 0.64) ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือ ด้านการนำผลการ ประเมินมาปรับปรูงพัฒนา (X= 4.53, S.D. = 0.57)ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนด้านที่มีการปฏิบัติ ต่ำสุด คือ ด้านการวางแผน ระดับมาก (x = 4.35, S.D. = 0.75)ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.59, S.D. = 0.67) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการดำเนินงานมีการ ปฏิบัติอยู่ในระดับ มากที่สุด (X= 4.64, S.D. = 0.70) ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา คือ ด้านการ วางแผนอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.62, S.D. = 0.59) ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านที่มีปฏิบัติต่ำสุด คือ ขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรูงพัฒนามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.51, S.D. = 0.62) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย
4.1    ผลการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามความคิดเห็นของนักเรียน และคณะกรรมการนิเทศภายใน
ผลการวิเคราะห์1ข้อมูลประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู ตามความคิดเห็นของ นักเรียนและคณะกรรมการนิเทศภายใน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า ปีการศึกษา 2559 นักเรียนมิความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.40, S.D. = 0.74) ได้คะแนน รวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42, α = 0.67) ได้คะแนนเฉลี่ย20ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าทุกด้านมี ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.65,
S.D. = 0.66) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายใน มีความ คิดเห็นโดยรวมในระดับมากที่สูด (µ, = 4.61, α = 0.61) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย20ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงกวาเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การ ประเมิน
4.2    ผลการประเมินผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมคะแนนค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 42.30 เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 51.21 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 51.18 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย ตาสุด เท่ากับ 34.95
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมคะแนนค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 37.23 ลดลงจาก ปีการศึกษา 2559 เท่ากับ -5.07 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 53.43 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 34.08 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย ตาสุด เท่ากับ 29.49
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมคะแนนค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 36.19 เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 58.34 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษาฯ คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 36.34 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนน เฉลี่ยตาสุด เท่ากับ 25.30
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมคะแนนค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 33.60 ลดลงจาก ปีการศึกษา 2559 เท่ากับ -2.59 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มสาระการ เรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 51.51 รองลงมา ได้แก่
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 36.01 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยตาสุด เท่ากับ 22.75
4.3    ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ผลการประเมินคุณภาพลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนพิมานพิทยา สรรค์ปีการศึกษา 2559 โดยรวม พบว่า มีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ ดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 91.05 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินคุณภาพลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา2560 นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ ดี-ดีเยี่ยม ร้อยละ 95.76 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4    ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน พิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก (x = 3.90, S.D. =
0.    64) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า ครูส่งเสริม ให้นักเรียนรู้จักสื่อและเทคโนโลยีใหม่ๆมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x = 4.12, S.D. = 0.68) รองลงมา ได้แก่ รายการครูส่งเสริมให้นักเรียนนำผลการประเมินมาปรับปรูงและพัฒนาการเรียนของ นักเรียนอยู่ในระดับมาก (x = 4.10, S.D. = 0.63) และรายการครูส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ นำเสนอผลงานของตนเอง (x = 3.63, S.D. = 0.61)และรายการครูส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน การประเมินผลการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยตาสุด (X = 3.63, S.D. = 0.62)อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก (X= 4.45, S.D. = 0.61) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อ พิจารณา แต่ละรายการ พบว่า รายการครูเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.93, S.D. = 0.76) รองลงมา ได้แก่ รายการครูส่งเสริมให้ นักเรียนรู้จักใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.65, S.D. = 0.58) และ รายการครูส่งเสริมและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานของตนเองมีค่าเฉลี่ยตาสุด (x = 3.39, S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมาก
4.5    ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า
ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจ ในระดับมาก (x = 3.94, S.D. = 0.68) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า ครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดีฃอง สถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสูดอยู่ในระดับมาก (x = 4.31, S.D. = 0.63) รองลงมา ได้แก่ รายการครู จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับหมอบหมายอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถอยู่ในระดับมาก (X = 4.23, S.D. = 0.74) ส่วนรายการครูมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์มีค่าเฉลี่ยตาสูด (x = 3.65, S.D. = 0.71) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (X= 4.41, S.D. = 0.60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมินและ เมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า รายการครูประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดี ของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสูด (X= 4.54, S.D. = 0.63) อยู่ในระดับมากที่สูด รองลงมา ได้แก่ รายการครูใช้สื่อ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ (X = 4.53, S.D. = 0.73) และรายการครูจัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มเวลาและเต็มความสามารถ (x = 4.53, S.D. = 0.72) อยู่ในระดับมากที่สูด ส่วนรายการครูรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีค่าเฉลี่ยตาสูด (x = 4.10, S.D. = 0.60)อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.6    ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายใน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา2559- 2560 พบว่า
ปีการศึกษา2559 โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจในระดับมาก (X = 4.19, S.D. = 0.60) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า รายการ โรงเรียนมีแผนปฏิทินการดำเนินโครงการที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสูดอยู่ในระดับมาก (x = 4.36, S.D. = 0.48) รองลงมา ได้แก่ รายการโรงเรียนมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการนิเทศภายในของ ครูและบุคคลากรทุกคนอยู่ในระดับมาก (x = 4.30, S.D. = 0.55) ส่วนรายการดำเนินกิจกรรมของ โครงการเป็นไปตามแผนปฏิทินที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยตาสูด (X = 4.00, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก เช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สูด (X= 4.51, S.D. = 0.56) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณา แต่ละรายการ พบว่า ดำเนินกิจกรรม ประชุม อบรม สัมมนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสูด อยู่ในระดับมากที่สูด (X = 4.54, S.D. = 0.70) รองลงมา ได้แก่ รายการโรงเรียนมีแผน/ปฏิทิน การดำเนินโครงการที่ชัดเจน (X = 4.53, S.D. = 0.45) รายการดำเนินกิจกรรมศึกษาเอกสารทางวิชาการ (X = 4.53, S.D. = 0.64) และ รายการการนำผลการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุง การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับ มากที่สุด ส่วนรายการโรงเรียนเปีดโอกาสให้ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนิน กิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยตาสุด (X = 4.43, S.D. = 0.60) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรูปผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กิจกรรม การนิเทศภายในโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ปีการศึกษา 2559-2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ ซิปป์ (CIPP-Model) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านกระบวนการ ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านผลผลิตคะแนนรวมเฉลี่ย 90 ประเมนรวมทั้ง 4 ด้าน คะแนนเต็ม 100 คะแนน ได้ 90 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินโครงการ ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะสำหรับการนำไปใช้
1.    ด้านบริบท ควรวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายใน เพื่อที่จะสร้างคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ให้แค่ผู้เรียน อย่างแท้จริง และควรดำเนินงานโครงการโดยอาศัยการประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิด ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ และการจัดบรรยากาศในการดำเนินงานเหมาะสมสอดคล้องกับ การดำเนินโครงการอย่างจริงจังและมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.    ด้านปัจจัยนำเข้า ควรจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือใช้ในการดำเนินโครงการ เพี่มงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอกับการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น และควรประสานงานกับ หน่วยงานด้นฺสังกัด ในการจัดหาหรือปรับปรุงอาคารสถานที่และห้องปฏิบัติงานตามโครงการให้มี ความเหมาะสมและเพียงพอ
3.    ด้านกระบวนการควรมีการประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องทุกปีและ ทุกกิจกรรม เพื่อนำผลการประเมินมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
4.    ด้านผลผลิต การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ผู้บริหารควรกำหนดยุทธศาสตร์การสอน ซ่อมเสริมผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียน เพื่อแก้ปัญหานักเรียนโดยการหาแนวทางร่วมกันระหว่างครู และนักเรียน และจัดให้มีการอบรมหรือนิเทศติดตาม การจัดทำนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหา ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติควรสนับสนุนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการวิจัยเพื่อให้ เกิดผลกับนักเรียน อย่างจริงจัง สามารถส่งผลต่อการพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ครู ควรใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีการบูรณาการการเรียนรู้กลุ่มสาระต่าง ๆ หลังจากการสอนในแต่ละครั้งควรมีการสรูปและบันทึกผลการเรียนทุกครั้งอย่างจริงจังและทุกชั้นโดย ใช้การวัดผลตามสภาพจริงและประเมินผล เพื่อให้ทราบผลการสอนและทราบผลการเรียนของ นักเรียนและหาแนวทางแก้ปัญหาการเรียนในครั้งต่อไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการและการวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการเรียนเของครูโดยใช้กิจกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์
2.    ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในหลายรูปแบบและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ บริบทของโรงเรียนและสอดคก้องกับความต้องการและเป็นที่ยอมรับของผู้รับการประเมินที่เกิด ประสิทธิผลกับครูและนักเรียน
3.    ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการของโรงเรียน เพื่อเป็นการพัฒนาการดำเนินงาน ต้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั้งระบบ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^