การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
ผู้ศึกษา นางสุภรัตน์ ศรีบุณยมาลา
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2557
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 38 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้วิธีจับสลากมา 1 ห้องเรียน เนื่องจากโรงเรียนใช้วิธีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ นักเรียนแต่ละห้อง มีผลการเรียนที่ไม่แตกต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม ที่จัดกิจกรรมตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการเรียนการสอน
วิชาคอมพิวเตอร์ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
และการทดสอบค่าที (t – test for dependent)
ผลการศึกษาพบว่า
1.แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 96.07/87.37 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 เรื่อง การออกแบบโปรแกรม โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT มีความพึงพอใจในการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 3.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในการเรียนในด้านผู้สอนและด้านสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง