การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความร่วมกับวิธีการสอน SQ4R
ผู้วิจัย : นางสาวจุฬารัตน์ จันทร์คง
ปีที่ทำการวิจัย : ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purpose sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ จำนวน 20 เล่ม 2) คู่มือการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยร่วมกับวิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ จำนวน 21 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ คะแนนเต็ม 40 คะแนน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการสอน แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ จำนวน 14 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ (E1/E2) ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.61/84.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน
จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสำนักสงฆ์ห้วยเรือ โดยภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด