รายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดอยู่ในระดับมาก (x=4.16, D. = .62) และ ( x=4.43, S.D. = .57) ไค้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของ นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยาปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็น ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.04, S.D. = .64) ไค้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของ นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะโรงเรียนสตูลวิทยาปีการศึกษา 2560 ตามความ คิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดอยู่ในระดับมาก (x =4.30, S.D. = .48) ( x= 4.25, S.D. = .52) และ ( x = 4.18, S.D. = .06) ตามลำดับ ไค้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของนักเรียน โดยใช้ กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2560
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการดำเนินการแก้ปัญหาการติด 0,ร, มส ของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสตูลลวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตาม ความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า เกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( x =4.36, S.D. = .44) ( x= 4.38, S.D. = .39) และ ( x= 4.21, S.D. = .56) ตามลำดับ ไค้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครองในการ แก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทังสามกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( x=4.28, S.D. = .51) ( x= 4.50, S.D. = .40) และ ( x= 4.08, S.D. = .58) ตามลำดับ ไค้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกรายการที่ประเมิน
4.3 ผลการวิเคราะห์การประเมินการติด 0,ร,มส รายวิชาตามระเบียบการวัดผลประเมินผล ระดับสถานศึกษา โรงเรียนสตูลวิทยา โดยภาพรวมปีการศึกษา 2560 จำนวนการติด 0,ร,มส ร้อยละ17.38 ลดลงจากปีการศึกษา 2559 ร้อยละ38.34 ลดลงร้อยละ 96 ไค้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 8 กลุ่ม สาระการเรียนรู้ โรงเรียนสตูลวิทยา โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 67.13 ปีการศึกษา 2559 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71 เพิ่มขึ้น 11.42 ไค้คะแนนเฉลี่ย5 ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนผลการ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (0-NET) ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า ค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2560 ต่ำว่าค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2559 ทั้ง 2 ระดับชั้น ได้คะแนนเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านประเด็นการ ประเมิน สรุปผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนน รวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ การแก้ปัญหา การติด 0,ร,มส ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะโรงเรียนสตูลวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับมาก ( x=4.28, S.D. = .49) (x = 4.12, S.D. = .60) (x = 4.09, S.D. = .60) และ (x = 4.49, S.D. = .51) ตามลำดับ ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่าน เกณฑ์ภาพรวมและทุกรายการที่ประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของนักเรียนโดยใช้กิจกรรม สร้างสรรค์ 5 ลักษณะ โรงเรียนสดูลวิทยา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP-Model) ทัง 4 ด้าน คะแนนรวม 100 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 95 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนด เป็นแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการการแก้ปัญหาการติด 0,ร,มส ของ นักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ควรนำขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ลักษณะให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่มีปัญหา การติด 0,ร,มส ของนักเรียน และมีบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียนสตูลวิทยา เพื่อประยุกต์ใช้ใน การแก้ปัญหา การติด 0,ร,มส เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่นๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่อย่าง กว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการติด 0 ,ร , มส ของนักเรียนโดย ใช้เทคนิคและรูปแบบอื่นๆ
ควรศึกษาปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการติด 0 ,ร , มส ของนักเรียน
ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่มีผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ