การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู
ผู้วิจัย นางจริญยา พุทธสอน
วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
บทคัดย่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน มีความสอดคล้องกับแนวคิดหลักการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู เรื่อง โปรแกรมตารางงาน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 66 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล กลุ่ม 1 จำนวน 33 คน 2) กลุ่มทดลองใช้การจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล กลุ่ม 3 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวนรูปแบบละ 12 แผน จัดการเรียนรู้แผนละ 1 ชั่วโมง รวมเวลา 12 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.62/86.67 และ 87.51/89.80 ตามลำดับ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.23–0.86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.82 3. แบบทดสอบวัดความสามารถในการการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 25 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.26–0.68 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.25–0.73 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.87 4. แบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 อันดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.34–0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ F-test (One–way MANOVA)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.62/86.67 และ 87.51/89.80 ตามลำดับ
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู วิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ เรื่อง โปรแกรมตารางงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8439 และ 0.7969 ตามลำดับ
3. นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู มีการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชา คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่แตกต่างกัน