การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิง
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “SLSE Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียน การสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียน (State instructional objectives : S) 2) ขั้นเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงระบบ (Learning System thinking Process : L) จัดกระบวนการเรียนรู้โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นนำเสนอสถานการณ์/ประเด็นสำคัญ , ขั้นพัฒนาแนวทางการคิด , ขั้นพิจารณาและค้นหา , ขั้นสนทนาแลกเปลี่ยน , และขั้นเรียนรู้ผลงานกลุ่ม 3) ขั้นสรุป (Summarizing : S) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ทั้งด้านเนื้อหาสาระ กระบวนการคิดเชิงระบบ 4) ขั้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (Evaluating : E) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 83.72/82.84 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการคิดเชิงระบบทั้ง 2 ด้าน (ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความ สามารถในการคิดเชิงระบบ) ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดเชิงระบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชามนุษย์กับสังคม รหัสวิชา ส30214 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียน การสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ-วัฒนธรรม รายวิชามนุษย์กับสังคม รหัสวิชา ส30214 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่านักเรียนมีความ พึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชามนุษย์กับสังคม รหัสวิชา ส30214 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนด้านประโยชน์ของรูปแบบการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด