LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช

usericon

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนาชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษาวิจัย                    นางสาวนภกมล เถื่อนสมสี
ตำแหน่ง                    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียน                    โรงเรียนบ้านสำโรงหัวนาโนนจันทร์หอม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา                    มหาสารคาม เขต 3


บทคัดย่อ

    จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ทักษะที่เป็นพื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ ทักษะการอ่าน ถือได้ว่าเป็นทักษะที่ยากทักษะหนึ่ง เพราะมีปัจจัยหลายด้านที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านที่เกี่ยวกับผู้อ่านโดยตรง เช่น ความรู้เดิม ความสนใจ วัตถุประสงค์ในการอ่าน และวิธีการหรือเทคนิคที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดปัญหา ผู้เรียนไม่รักการอ่าน เพราะเมื่ออ่านแล้วไม่เข้าใจ สรุปและจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านไม่ได้ ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความกระตือรือร้น ทำให้ความสามารถในการอ่านลดลง และเกิดการไม่รักการอ่านในที่สุด ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนจึงต้องหาวิธีการหรือเทคนิคที่ส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ จึงได้พัฒนาชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเสริมสร้างให้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบKWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านสำโรงหัวนาโนนจันทร์หอม อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 3 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 ชุด แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน จำนวน 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผลและการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ t-test (Dependent samples)
    ผลการศึกษาพบว่า
    1. ชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.07/86.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ KWL-Plus สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^