การใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
และวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางสาวมนรดา ลาปิ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง อำเภอน้ำปาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพัฒนาแบบ One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยผึ้ง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มา
โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนรู้ 16 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 15 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x-bar ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ค่าการทดสอบแบบที (t-test) และค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ (E1/E2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ E1 / E2
เท่ากับ 86.01/84.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (สาระเศรษฐศาสตร์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.80 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40