ผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน
ผู้ศึกษา นางสาวธนัญชา พิทยาเสถียร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ให้ได้ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 44 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 แผน ใช้เวลา 14 ชั่วโมง 2) เว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.21 - 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.21 - 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR20) เท่ากับ 0.81 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยใช้รูปแบบการทดลองเป็นกลุ่มเดียว แต่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The One Group Pretest – Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (%) ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
(1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 82.69/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน = 12.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 2.94 มีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน = 25.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 1.31 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
(3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับเว็บสนับสนุน Google Classroom เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาซี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหา ด้านเว็บสนับสนุน ด้านการจัดการเรียนแบบร่วมมือ ด้านบรรยากาศในการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย = 4.34 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.65 จัดว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก