การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบ-
เสาะหาความรู้
ชื่อผู้วิจัย : นายสุริยันต์ ไชยรบ
ปีการศึกษาที่วิจัย : 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนแวงพิทยาคม ตำบลแวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 33 คน ใช้เวลาทดลอง 28 ชั่วโมง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและ ทัศนอุปกรณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 12 แผน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและทัศนอุปกรณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 10 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม จำนวน 50 ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 -0.70 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 แบบทดสอบความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติ t (Dependent Samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ มีประสิทธิภาพของกระบวนการจัดกิจกรรม/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การจัดกิจกรรมเท่ากับ 82.33/81.03 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและทัศนอุปกรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผู้เรียนมี ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด