การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาส
เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน : นางธัญวรัตน์ชนก ตะโสธร
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านหนาด “คุรุราษฎร์อุทิศ” อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
ปีที่พิมพ์ : 2559
บทคัดย่อ
ชุดกิจกรรมเป็นรูปแบบการสื่อสารระหว่างครูและนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยคำแนะนำที่ให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนจนบรรลุพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนรู้ และเนื้อหาที่นำมาสร้าง
ชุดกิจกรรมนั้นได้ขอบข่ายของความรู้ที่หลักสูตรต้องการ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนบ้านหนาด “คุรุราษฎร์อุทิศ” อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 4 ชนิด ดังนี้ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน
(2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เล่ม (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากระหว่าง 0.43 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.28 - 0.88
ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.80 (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพ
ของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 96.17/95.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80
(2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
(3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58 และ S.D. = 0.23)